หลายคนอาจจะมีงานอดิเรกอย่าง การเขียน หรือ การสร้างสรรค์งานเขียน ไม่ว่าจะใช้เวลาไปกับการเขียนหนังสือ ไดอารี่ หรือเขียนเพจ บล็อค เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ตัวเองไปประสบพบเจอมาให้คนที่ติดตามได้รู้ หรืออาจเก็บไว้เตือนความจำถึงเรื่องราวในอดีต แต่รู้หรือไม่ว่าคนที่ชอบเขียนหนังสือ หรือ เขียนบอกเล่าเรื่องราวต่างๆนั้นจะเป็นคนแบบไหน วันนี้ JOBTOPGUN จึงอยากจะแชร์ให้คุณทราบว่าดนตรี กีฬา และงานอดิเรกแต่ละประเภทจะช่วยฝึกฝนทักษะความสามารถเรื่องใดให้คุณบ้าง ทักษะเหล่านี้คุณควรมีโดยที่คุณอาจจะยังไม่รู้ตัว ซึ่งผลการวิเคราะห์นี้มาจากงานวิจัยของท็อปกันร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามถึงกว่า 20,000 คน มาดูกันว่าคนที่ชอบงานเขียนเป็นคนแบบไหน!
1. มีความคิดสร้างสรรค์
การที่จะเป็นนักเขียนนิยายได้นั้น หากไม่มีความคิดในเชิงสร้างสรรค์ก็ไม่สามารถที่จะผลิตผลงานออกมาได้ ดังนั้นคนที่จะทำงานในด้านนี้จะต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นทุนเดิม ชอบที่จะสร้างสิ่งแปลกๆใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อดึงดูดนักอ่าน เช่นการสร้างตัวละครที่มีบุคลิกโดดเด่นจดจำได้ง่าย การสร้างพลอตเรื่องที่น่าสนใจและดูน่าติดตาม ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเป็นผลงานที่เกิดขึ้นมาจากความคิดของตนเองทั้งสิ้น ห้ามไปลอกเลียนแบบหรือดัดแปลงมาจากงานเขียนของผู้อื่นโดยเด็ดขาด
2. คิดอย่างมีหลักการ
ในการจะเขียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สมองจะต้องประมวลผลเกี่ยวกับข้อมูลของเรื่องนั้นๆ ที่เรามีอยู่ นำมาจัดเรียงตามอันดับก่อนหลัง และคิดได้ว่าผลที่ได้เกิดจากเหตุอะไร หรือเหตุที่มีจะทำให้เกิดผลที่ตามมาอย่างไร เมื่อเราเขียนมากขึ้นทักษะทางด้านดังกล่าวก็จะถูกพัฒนาให้ดีขึ้นโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าพบเจอเรื่องใดๆ สมองก็จะถูกใช้ให้คิดอย่างมีหลักการ
การเขียนนิยาย ยิ่งในการเขียนเรื่องราวที่เป็นแนวปกติทั่วไปแล้ว ส่วนใหญ่เราจะต้องอาศัยการคิดอย่างมีหลักการเข้ามาผสมผสานในการแต่งนิยายด้วย หมายความถึงเนื้อหาของเรื่อง ตัวเอก ตัวร้าย จุดจบของเรื่อง จะต้องมีเหตุมีผลซึ่งกันและกัน เช่นเราจะวางพลอตให้คนร้ายเป็นคนใกล้ตัวของพระเอก เราจะต้องหาเหตุผลที่สมควรพอว่าทำไมเขาจึงต้องทำแบบนั้น ตัวละครตัวนั้นมีความจำเป็นอะไรที่จะต้องทำร้ายพระเอก อาจเพื่อแก้แค้น อาจเพื่อหวังฮุบสมบัติ เราก็ต้องวางพลอตที่มีเหตุผลสมควรพอแก่การกระทำของตัวละครนั้นๆ และในการดำเนินเรื่อง เราก็จำเป็นต้องหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อใช้อ้างอิงในการแต่ง เช่น เราจะแต่งให้ตัวเอกเป็นตำรวจ เราก็ต้องหาข้อมูลทางด้านนี้ ทั้งเรื่องยศตำแหน่ง ตัวอย่างคดีที่น่าสนใจ วิธีการวางแผนจับกุมคนร้าย หรือแม้กระทั่งชื่อรุ่นของปืนที่ตำรวจนิยมใช้ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้นิยายเรื่องนั้นๆมีความสมจริงมากขึ้น แต่ถ้าหากเป็นนวนิยายเหนือมนุษย์หรือแฟนตาซี เราก็ไม่จำเป็นต้องพูดถึงหลักการมากนัก และหันไปใช้ข้อ 1 ความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจหลักในการแต่งงานแทน
3 .ใฝ่หาความรู้ใหม่
การเป็นนักเขียนที่ดีได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในหลายๆด้านหลายๆแขนง และในการจะเขียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ต้องศึกษาหาข้อมูลในเรื่องนั้นๆ เพราะงานเขียนที่ไม่มีพื้นฐานมาจากข้อมูลที่แท้จริง ก็จะไม่ได้รับการยอมรับ และถูกตำหนิได้ ดังนั้นความรู้ใหม่ๆจึงเป็นสิ่งสำคัญในงานเขียน ดังนั้นงานเขียนจึงช่วยพัฒนาให้เป็นผู้ที่ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ การฝึกฝนการเขียนให้เกิดงานที่มีคุณภาพและสามารถยอมรับได้ จำเป็นต้องหาข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาใช้ประกอบได้อย่างรัดกุมและถูกต้อง ในกรณีที่เป็นบทความทางวิชาการ หรือบทความที่ต้องมีการอ้างอิงข้อมูลมาจากแหล่งอื่นๆ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้เขียนที่จะต้องหาความรู้ใหม่ๆและแง่มุมของความรู้นั้นที่ต่างกันออกไปในหลายๆด้าน ทำให้ผู้เขียนมีความรู้รอบ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาตนเองในด้านต่างๆได้อีกด้วย
4 .เป็นนักสื่อสารที่ดี
หากเรามีข้อมูลแต่สื่อสารออกไปไม่ดี ไม่โดนใจคนอ่าน ไม่ถูกใจคนอ่านส่วนมาก เราก็จะไม่ประสบ
ความสำเร็จในการเขียน แม้เนื้อหาข้อมูลจะดีเพียงใดก็ตาม ดังนั้นการสื่อสารต้องขึ้นอยู่กับเราที่เป็นผู้ส่งสารจะกำหนดเป้าหมายว่าจะส่งสารแบบใดไปยังผู้อ่าน เพื่อให้ได้ลูกค้าที่ตรงมาก ไม่มีคู่แข่ง หรือมีน้อย และติดตลาดได้นาน เนื่องจากการเป็นนักเขียนต้องอาศัยทักษะทางด้านการอ่าน การพูดคุยพบปะกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆและนำมาเสนอข้อมูลที่ได้มาประกอบการเขียนเพื่อสื่อสารให้คนอ่านได้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการเป็นนักเขียนจะต้องเป็นนักสื่อสารที่ดีเป็นการสื่อสาร 2 ทาง
5.รอบรู้
นิสัยอีกอย่างหนึ่งที่มักมาพร้อมกับผู้ที่รักการเขียนคือการรักการอ่านและเมื่อเราจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไรซักเรื่อง เราควรรู้จริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ยิ่งต้องสืบเสาะค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนเพราะฉะนั้นยิ่งเขียนบ่อยๆ ยิ่งทำให้เรามีความรู้กว้างขว้างมากยิ่งขึ้น เนื่องจากงานเขียนเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ต่างๆ มาประกอบในการเขียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีเอกสารอ้างอิงให้เกิดความน่าเชื่อถือ ดังนั้นผู้ที่จะทำงานเขียนได้ดีจะต้องเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ อ่านมากรู้มาก
6. มีความสามารถในการนาเสนอ
การเขียนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง การเขียนที่ดีผู้อ่านหรือผู้รับสารจะต้องเข้าใจได้อย่างไม่ยากว่าเราพยายามจะสื่อถึงอะไร มีลำดับการนำเสนอที่เป็นขั้นเป็นตอน และเป็นเหตุเป็นผล หากเราฝึ กเขียนบ่อยๆ ทักษะทางด้านการเสนอก็จะดีขึ้นตามลำดับ เมื่อคิดอย่างมีหลักการและได้ข้อมูลหรือเนื้อหาที่ผ่านกระบวนการแห่งความคิดแล้ว ผู้เขียน จะต้องมีความสามารถในการนำเสนองานเขียนให้ผู้อื่นเข้าใจ ในสิ่งที่เราเขียน ไม่ใช่ว่าเขียนเข้าใจอยู่แต่เพียงผู้เดียว ผู้เขียนต้องมีเทคนิคและความสามารถในการนำเสนอด้วย
7. รอบคอบ
ความรอบคอบนั้นเป็นสิ่งที่ผู้เขียนจะต้องมี เป็นสิ่งที่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าสำคัญมาก ยกตัวอย่างเช่นการเขียนนิยาย เคยอ่านพบในเว็ปไซต์เกี่ยวกับการพัฒนางานเขียนเล่าว่ามีผู้เขียนท่านหนึ่งเขียนนิยายส่งสำนักพิมพ์ให้พิจารณาปรากฎว่าบรรณาธิการอ่านแล้วก็เห็นเป็นเรื่องน่าขันเพราะชื่อพระเอกตอนต้นเป็นชื่อหนึ่ง ตอนท้ายอ่านไปกลับพบว่าเป็นอีกชื่อหนึ่งด้วยเพราะผู้เขียนไม่รอบคอบ ซึ่งภายหลังได้อ่านบทความนี้ ตนเองก็ตระหนักว่าต่อไปถ้าคิดจะเขียนงานสักเรื่องต้องรอบคอบให้มาก ไม่เฉพาะแค่เรื่องนี้ แต่คำทุกคำที่เราเขียนจำเป็นต้องระมัดระวัง อ่านทวนซ้ำเรื่อยๆเพื่อปรับเปลี่ยนคำให้เหมาะสมกับสิ่งที่คิดจะสื่อ รวมถึงการสะกดคำว่าถูกต้องหรือไม่ ซึ่งเป็นคุณสมบัติขั้นต้นที่สำคัญที่ผู้เขียนแต่ละคนควรจะมี
8.รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
งานเขียนจะพัฒนาได้ต่อเมื่อ เรารู้จักรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น งานเขียนจะดีหรือไม่ดีนั้น ไม่ใช่เพียงขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้เขียนเพียงเท่านั้น การได้รับการยอมรับจากผู้อื่นก็สำคัญเช่นกัน ดังนั้นการที่จะทำให้งานเขียนดีได้คือรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีต่องานเขียนของตน แล้วคิดตริตรองเพื่อนำไปใช้ในการเขียนงานในครั้งต่อไปๆ
9. เป็นตัวของตัวเอง
งานเขียนเป็นอะไรที่บ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง สิ่งที่เราคิด สิ่งที่เราอยากถ่ายทอดออกมา เราสามารถทำได้โดยผ่านงานเขียน ผ่านทางตัวหนังสือเป็นร้อยเป็นพัน สุดท้ายมันก็กลายเป็นตัวของเราเป็นงานเขียนของเรา ทำให้เรารู้ว่าตัวเราเป็นอย่างไร เราชอบแบบไหน ตัวของตัวเองเป็นอย่างไร หากมองผ่านงานเขียน
10. ตรวจสอบความถูกต้องในทุกรายละเอียด
การเขียนต้องอาศัยความละเอียดและรอบคอบ เพราะการเขียนผิดการสะกดคำที่ผิดหรือการเว้นวรรคคำที่ผิด
บางครั้งก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่องานนั้นๆ ได้ ดังนั้นคนที่เก่งเรื่องการเขียนย่อมจะเป็นคนที่ละเอียดรอบคอบ และต้องตรวจสอบความถูกต้องของชิ้น งานในทุกรายละเอียดเช่นกัน เป็นที่แน่นอนว่างานเขียนเป็นงานที่อยู่กับตัวอักษรจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสิ่งหนึ่งของงานเขียน
+ มีความเป็นศิลปิน
เป็นการฝึกความคิดและจินตนาการ นำเอาประสบการณ์และอารมณ์ผสมผสานออกมาเป็นเรื่องราว ทำให้เรามีความเป็นศิลปินมากขึ้น รวมทั้งทำให้มีจิตใจอ่อนโยนด้วย งานเขียนไม่ว่าจะเป็นงานเขียนประเภทบทความ ไดอารี่ หรืออื่นๆ อีกมากมาย ล้วนเกิดจากการมีอารมณ์ มีจินตนาการ มีความรู้สึก ซึ่งงานเขียนสามารถทำให้เราเขียนจินตนาการในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้ เป็นไปได้ในงานเขียน
+ มีวิจารณญาณที่ดี
งานเขียนด้านที่ต้องเสนอความคิดเห็นที่เป็นกลางนี้สำคัญมาก คนอ่านสามารถรู้ได้ทันทีว่าผู้เขียนเจตนาที่จะใส่อารมณ์ของตนเองมากหรือน้อยที่แตกต่างกันออกไป
หากคุณเป็นคนที่ชอบงานเขียนอยู่แล้ว สามารถเข้าไปอัพเดตดนตรี กีฬา งานอดิเรก (Competency) ผ่าน Super Resume ของคุณได้เลย ที่นี่ เพื่อให้คุณรู้จักตัวตนของคุณมากขึ้นผ่านงานอดิเรกที่คุณทำ หรือหากคุณยังไม่มีเรซูเม่ ลงทะเบียนสมัครสมาชิกฟรีพร้อมทำเรซูเม่ได้ง่ายๆ ที่ www.superresume.com