เคยสงสัยกันไหมคะว่า..กว่าที่สินค้าแต่ละอย่างจะส่งตรงมาถึงมือเรานั้น ต้องผ่านขั้นตอนอะไรมาบ้าง? แต่สินค้าที่ผลิตออกมาในแต่ละวันนั้นถือว่าเป็นอะไรที่มีใหม่ๆได้ทุกวัน แต่การมีสินค้าที่ “ใช่” สำหรับผู้บริโภคนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และกุญแจสำคัญที่เป็นเบื้องหลังแห่งความสำเร็จในการผลิตสินค้าต่างๆนั้นก็คือ “นักการผลิต” ที่จะตอบสนองความต้องการของบริโภคจำนวนมากให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ อ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็คงหมดคำถามว่าทำไมนักการผลิตที่ดีจึงเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอ แล้วการเป็นนักการผลิตที่มีคุณภาพนั้นมีเคล็ดลับอย่างไร บทความนี้จะไขข้อสงสัยจากเทคนิคต่างๆที่นักการผลิตผู้มีประสบการณ์ได้ให้ข้อมูลกับเราเป็นอย่างดี ไปอัพเดตข้อมูลกันเลยค่ะ
ความคิดเห็นจากผู้ที่ทำงานในสายงาน “นักการผลิต”
คำถาม : งานที่ทำเป็นอย่างไร?
- บริหารจัดการทรัพยากรในโรงงานเพื่อทำการผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณ คุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการด้วยต้นทุนต่ำที่สุด
- ควบคุมค่าใช้จ่ายในการผลิต
- ป้องกันและหาสาเหตุเวลาเกิดกรณีเกิดปัญหางานที่ผลิตไม่สอดคล้องกับที่กำหนด
- ตรวจสอบและแก้ปัญหาคุณภาพของวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป
- ประสานงานกับฝ่ายสนับสนุนต่างๆเพื่อให้ได้งานสำเร็จตามกำหนด
- ควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
- วางแผน นำเสนอโครงการต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต
- พัฒนาการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
คำถาม : เสน่ห์ของสายอาชีพ?
- ได้คิดแก้ไขปัญหาใหม่ๆ เป็นงานที่ท้าทาย ทั้งการจัดการคน สินค้า เครื่องจักร มีความรู้ใหม่ๆให้ศึกษาไม่สิ้นสุด
- เป็นความท้าทายในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อให้เกิดทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด
- เป็นงานที่ต้องการความละเอียด รอบคอบ ใช้สมองในการคิดแก้ปัญหาต่างๆ
- ได้ร่วมงานกับบุคคลมากมาย หลากหลายรวมถึงควบคุมและดูแลผลผลิตของบริษัท
- ได้ควบคุมคนจำนวนมากและมีปัญหาที่ท้าทายในทุกวัน
คำถาม : ข้อดีของสายอาชีพ?
- มีความสำพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน
- เข้าใจในความต้องการของลูกค้าเป็นอย่างดี
- มีโอกาสก้าวหน้ามาก ได้แสดงความสามารถหลายด้าน (วางแผน ควบคุม ติดตาม ปรับปรุง) ทั้งเรื่องยอดการผลิต คุณภาพของสินค้า เวลาในการผลิต ต้นทุน สต๊อก เครื่องจักร กำลังพล เป็นต้น
- ทำให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ดีมีคุณภาพปลอดภัย
- งานจบในเวลา สามารถวัดประสิทธิภาพได้ชัดเจน
- ได้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆตลอดเวลา แก้ปัญหาต่างๆทุกๆวัน
คำถาม : ข้อเสียของสายอาชีพ?
- เวลาที่ไม่แน่นอน เพราะปัญหาจะเข้ามาทุกวัน เวลาในการแก้ปัญหา อาจจะกระทบกับเวลาส่วนตัว
- ถ้าไม่มีแนวคิดการพัฒนา ก็จะเกิดความจำเจ และเบื่อหน่ายได้ง่าย
- เป็นงานที่ค่อนข้างซ้ำๆ (mass production) บางคนอาจเกิดความเบื่อหน่าย
- การอยู่นิ่งทำให้ช้ากว่าคู่แข่ง
- เสี่ยงอันตรายจากเครื่องจักร
คำถาม : ความรู้ที่ต้องใช้?
- พื้นฐานวิศวกรรม คอมพิวเตอร์
- การติดต่อสื่อสาร ไทย-อังกฤษ-ภาษาอื่นๆ
- การวางแผน ความรู้ทางด้านเครื่องจักร
- เทคนิคการจัดการ และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
- การผลิตและการควบคุมคน
คำถาม : 10 ทักษะความสามารถที่ควรมีในสายงานนี้?
- กล้าตัดสินใจ
- ทำงานภายใต้ความกดดันได้ดี
- เก่งในการประสานงานและติดตามงาน
- กระจายความรับผิดชอบได้ดี
- มีความเป็นผู้นำ
- กระตือรือร้น
- คิดอย่างมีหลักการ
- เก่งในการบริหารคน
- มีความรับผิดชอบสูง
- ทำงานเป็นระบบ