ปรับวิธีการบริหารธุรกิจ ฝ่าวิกฤต COVID-19

          เมื่อคนไม่ออกจากบ้านกันช่วงโรคระบาด COVID-19 นี้ ประกอบกับสถานประกอบการบางแห่งถูกสั่งปิดไปอีกหลายแห่ง จึงมีผลทำให้รายได้ของทั้งผู้ประกอบการในทุก ๆ ภาคส่วนหดหายลง บางคนกระทบน้อย บางคนก็กระทบแบบแสนสาหัส ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ สิ่งที่ทุกคนทำได้คือต้องก้าวต่อไป วันนี้เลยรวบรวมเทคนิคการบริหารธุรกิจทั้งหลาย ว่าทำอย่างไรได้บ้างในช่วงนี้เพื่อให้ธุรกิจที่มีไปรอด ลองอ่านกันเลยค่ะ

1. ด้านการบริหารธุรกิจ

ปรับปรุงกิจการโดยการลดค่าใช้จ่าย

          หากคุณเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีโรงงานเป็นของตัวเอง ให้ใช้เวลาช่วงนี้สำรวจดูว่า เรามีเครื่องจักร หรือเครื่องมืออะไรที่เสื่อมหรือต้องการเปลี่ยนแล้ว ควรจะลองพิจารณาเครื่องมือในราคาที่ถูกลง โดยอาจจะนำเข้าจากต่างประเทศเพราะช่วงนี้เงินบาทแข็งค่า ก็จะช่วยลดรายจ่ายในการผลิตสินค้าได้ในช่วง COVID-19 

โอกาสทองในการชำระหนี้สิน

          เนื่องจากมาตรการหลาย ๆ อย่างของทางรัฐบาลที่ได้ออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการมากมายจาก COVID-19  รวมไปถึงสถาบันการเงินต่าง ๆ ดังนั้น หากผู้ประกอบการมีภาระหนี้สิน ในช่วงนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ควรศึกษาการแบ่งเบาภาระหนี้สินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้ธุรกิจได้ค่ะ

ปรับวิธีการทำงานเป็นออนไลน์

          หากผู้ประกอบการธุรกิจบางส่วนที่อยากพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ก็ลองพิจารณาดูค่ะว่า สามารถเปลี่ยนเป็นช่องทางออนไลน์ได้หรือไม่ เช่น สถาบัน โรงเรียนต่าง ๆ ก็อาจจะเปลี่ยนมาแบบออนไลน์ อาชีพเซลล์ก็อาจจะติดต่อลูกค้าผ่านทางออนไลน์ในช่วง COVID-19 นี้แทนการพบปะด้วยตัวเอง เป็นต้น

2. ด้านการบริหารบุคลากร

เพิ่มความปลอดภัยในที่ทำงาน

          ในกรณีที่ยังจำเป็นต้องให้พนักงานมาทำงานอยู่ดี ให้เพิ่มความปลอดภัยจาก COVID-19 ในที่ทำงานให้มากขึ้น เช่น กำหนดให้พนักงานใส่หน้ากาก ให้พนักงาน Work from home(ลิ้งค์ไปบทความเทคนิค ‘Work from home’ อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในช่วง Covid-19) หรือลดค่าใช้จ่ายสังสรรค์หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกในช่วงนี้

ปรับเวลาทำงาน

          ปรับเวลาเข้า-ออกที่ทำงานที่เลี่ยงช่วง rush hour ในช่วง COVID-19 นี้ โดยเลี่ยงการนัดประชุม หรือเข้างานในที่เวลาที่คนมารวมตัวกันเยอะ เช่น ช่วงเช้า พักเที่ยง หรือเวลาเลิกงานของบริษัทโดยทั่วไปในวันทำงาน ในกรณีที่พนักงานไม่มีรถส่วนบุคคลก็อาจจะจำเป็นต้องใช้ขนส่งสาธารณะที่อาจเป็นจุดเสี่ยงได้

ทำให้พนักงานอุ่นใจ

          ในเมื่อธุรกิจต้องดำเนินไปด้วยการร่วมมือของพนักงาน เมื่อเกิดวิกฤติในช่วงนี้ ผู้ประกอบการก็ต้องคำนึงถึงสุขภาพของพนักงานและคนที่มาติดต่อประสานงานกับบริษัทเป็นพิเศษ เช่น ตั้งจุดคัดกรอง วัดไข้ เพิ่มจุดบริการเจลล้างมือ เพิ่มมาตรการทำความสะอาดให้ถี่ขึ้นเพื่อฆ่าเชื้อโรค

          ลองกลับเอาไปพิจารณาดูกันค่ะว่าธุรกิจของคุณเหมาะกับแบบไหน เราลองค่อย ๆ ปรับไปทีละนิดเชื่อว่าเดี๋ยวก็จะคุ้นชินกันเอง และเมื่อไหร่ที่สถานการณ์นี้หายไป ทุกอย่างก็จะกลับมาเป็นปกติเอง ดังนั้น อย่าเพิ่งถอดใจและสู้ไปด้วยกันนะคะ

สมัครงานกับบริษัทชั้นนำทันที สร้าง Super Resume (ใบสมัครงาน) เลย ฟรี!

คำค้นหายอดนิยม

..