ในสถานการณ์ที่ลูกน้องทำผิด ซึ่งอาจจะเป็นความผิดที่ไม่ได้ร้ายแรง แต่เป็นความผิดในฐานะลูกน้องมักจะมองว่าทำผิดเล็กๆน้อยๆ มันจะส่งผลอะไรหนักหนา แต่ในทางตรงกันข้ามสถานการณ์ของคนเป็นผู้นำ หรือหัวหน้าจะเข้าใจว่าความผิดเล็กๆน้อยๆ จะส่งผลต่อภาพใหญ่ ซึ่งอาจจะต้องลงโทษลูกน้องคนนั้นด้วยซ้ำ ดังนั้นคนเป็นนายจึงต้องสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมา เพื่อรักษาภาพรวมของคนกลุ่มใหญ่ให้ได้ การขัดคำสั่งนายเป็นเรื่องของการรักษาวินัยและระเบียบในการปกครองคน ลูกน้องมักคิดว่าขัดคำสั่งแค่นี้ต้องลงโทษกันขนาดนี้เลยหรอ ชอบคิดว่าผิดแค่นี้ไม่เป็นอะไร แต่ถ้าคุณไม่ได้มองตื้นๆ แบบนี้ แต่คุณกลับมองว่าเรื่องแค่นี้เองเวลาที่นายสอนคุณ คุณก็แค่รับสั่งและปฏิบัติตามเท่านั้นเอง ไม่ต้องเสียเวลาไปโต้แย้ง
ยกตัวอย่างหากคุณมาทำงานสาย ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่รู้กันว่าต้องไม่มาทำงานสาย ถ้าเกิดคุณมาทำงานสายวันนั้น บริษัทจัดการด้วยการบอกว่าให้คุณกลับบ้านได้เลย วันนี้บริษัทไม่ต้องการคุณให้คุณไปพัก แล้วถ้าวันไหนคุณมาสายอีกคุณไม่ต้องมาทำงานนะ เพราะว่าคุณไม่เห็นคุณค่าของเวลาคุณ บริษัทก็จะไม่เห็นค่าเช่นกัน ดังนั้น คนที่มาสายอีกก็ไม่จำเป็นต้องพูดมากอีก
เมื่อเราเข้าใจเรื่องราวดังกล่าวแล้ว จะเข้าใจว่านี่คือการปกครองไม่ใช่การบริหาร เพราะดังนั้นใน Hierachy ของเรา เราจะต้องมีบางเรื่องที่ต้องปกครอง บางเรื่องต้องใช้การบริหาร แปลว่าการปกครองเป็นเรื่องที่คุณว่ากันตามกฎเกณฑ์ว่าเราจะไม่มาสายนะเพราะแบบนี้ ไม่ต้องมานั่งทำความเข้าใจกันอยู่เรื่อยๆ การฝ่าฝืนคำสั่งนายจึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาอธิบาย