ภาวะ Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงานนั้น เป็นเรื่องที่คนวัยทำงานส่วนมากมักจะเผชิญ โดยอาการเหล่านี้รวมถึง อาการเหนื่อยเรื้อรัง หดหู่ ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย หรืออารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ รวมไปถึงประสิทธิภาพในการทำงานของคนในทีมลดน้อยลง หากคุณเป็นหัวหน้าแล้วอยากให้ลูกน้องมีไฟอีกครั้งเพื่อทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น ควรทำงานวิธีเหล่านี้ เพื่อที่จะได้มีไฟอีกครั้ง
พักผ่อนให้เพียงพอ
เนื่องจากความเครียดนั้นมีได้จากหลายเหตุผล ทั้งการนอนพักผ่อนที่ไม่เพียงพอก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งเพราะมัวแต่เป็นห่วงแต่งาน จึงอาจทำให้ไม่ได้พักผ่อนได้อย่างเต็มอิ่ม ดังนั้น ลองสำรวจดูว่าลูกน้องแต่ละคนนั้นมีจำนวนงานเกินไปหรือไม่ หากลูกน้องคนไหนได้รับงานมากเกินไป อาจจะต้องจัดเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะเมื่อพักผ่อนเพียงพอ งานที่จะทำก็มีประสิทธิภาพได้มากขึ้นนั่นเอง
ใช้ Social Media ให้เหมาะสม
การใช้เวลาในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของลูกน้อง ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter Instagram Clubhouse ควรใช้อยู่ในกรอบที่พอดี เพราะหากสิ่งที่เราติดตามเป็นเรื่องที่เครียดกับข่าว สถานการณ์บ้านเมือง หรือเหตุการณ์ที่อาจจะกระทบกับจิตใจ เมื่อเสพติดกับมันมาก อาจก่อให้เกิดความเครียดกับการใช้โซเชียลมีเดีย ดังนั้น แทนที่จะใช้เพื่อการคลายความเครียด อาจทำให้เครียดมากกว่าเดิม
หาคนระบาย
การหาคนระบายก็ถือว่าเป็นการจัดการกับอาการ Burnout Syndrome อีกวิธีก็คือ ลองแนะนำให้ลูกน้องพูดคุยกับเพื่อน คนในครอบครัว หรือคนที่คุยแล้วสบายใจ คนที่คุยควรเป็นคนที่ปรึกษาได้ทุกเรื่อง หรือมีประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกันหรือสามารถให้มุมมองหรือความเข้าอกเข้าใจและคลายความเครียดจากอาการหมดไฟได้
ออกกำลังกายเพื่อลดความเครียด
เพราะการให้ร่างกายได้เสียเหงื่อบ้างก็จะสามารถช่วยลดความเครียดในการทำงานได้เช่นกัน ดังนั้น หากมีคนในทีมเริ่มมีอาการ burnout ลองแนะนำให้ลูกน้องออกกำลังกายเพื่อลดความเครียดได้ดี เพราะร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุขออกมาและทำให้ได้สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย
ปรึกษาแพทย์หากอาการแย่ลง
หากอาการของลูกน้องนั้นไม่ดีขึ้น ประสิทธิภาพของงานออกมาแย่ลง ขาด ลา มาสายสักพัก หรือเครียดจนผลิตงานออกมาไม่ได้มาสักระยะแล้ว หัวหน้าควรจะแนะนำให้ลูกน้องไปปรึกษาจิตแพทย์หากอาการ Burnout Syndrome นั้นยิ่งแย่ลง การกลับมาทำงานอาจจะไม่ใช่คำตอบ ณ เวลานั้นนั่นเอง
ทั้ง 5 วิธีนี้ก็เป็นวิธีการจัดการกับ Burnout Syndrome ของคนที่มีลูกน้องอยู่ในการดูแล อย่าคิดว่าเป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ น้อย เพราะผลงานของลูกน้องในทีมนั้นจะบ่งบอกถึงประสิทธิภาพโดยรวม หากมีลูกน้องที่มีอาการ burnout ที่สะสมมาเรื่อย ๆ อาจจะส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในการทำงานในอนาคตที่อาจจะคาดไม่ถึงก็ได้ค่ะ