ในสภาพที่เศรษฐกิจซบเซา บริษัทส่วนใหญ่ต่างมีสภาพแวดล้อมที่กดดันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ซึ่งในบางบริษัทอาจทำให้พนักงานมีภาวะกดดัน และสะสมความเครียดจนเกินไป สังเกตได้จากสถิติที่จำนวนพนักงานทั่วไปป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นกว่าปีก่อน ๆ และนอกจากโรคซึมเศร้าแล้ว ยังมีภัยร้ายอีกโรคหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นในกลุ่มคนทำงานได้เช่นกัน ซึ่งก็คือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน
ภาวะหมดไฟในการทำงานคืออะไร?
ภาวะหมดไฟในการทำงาน มักจะเกิดกับพนักงานทั่วไปที่มีอาการสะสมความเครียด ทำงานหนักเหน็ดเหนื่อยจนเกินไป ส่งผลให้สภาพจิตใจและสภาพร่างกายอ่อนล้า เหนื่อยและเฉยชากับทุกสิ่งจนถึงขั้นอยากที่จะเลิกทำงานในที่สุด ซึ่งพนักงานที่มีอาการภาวะหมดไฟนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ดังนั้นคนที่มีอาการสุ่มเสี่ยงควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโดยด่วน ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรที่จะเรียนรู้และหันกลับมาใส่ใจตนเองก่อนที่จะสายเกินแก้
อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร?
อาการของภาวะหมดไฟในการทำงานจะมีอาการคล้ายกับโรคซึมเศร้า แต่อาการจะเบากว่าโรคซึมเศร้าที่จะส่งผลต่อสภาพจิตใจผู้ป่วยอย่างรุนแรง จนบางรายอาจถึงขั้นอยากที่จะฆ่าตัวตาย อาการของโรคหมดไฟในการทำงานนั้นจะแบ่งออกเป็นทั้งทางสภาพร่าง สภาพจิตใจ และสภาพพฤติกรรมที่แสดงออก
• สภาพร่างกาย
เนื่องจากโรคนี้มักจะเกิดการจากสะสมความเครียด ความกดดันและวิตกกังวล จึงทำให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะมีอาการนอนไม่หลับ หรือหลับยาก หลับไม่สนิท ทำให้ร่างกายอ่อนล้า เหนื่อยง่าย และไม่มีแรงในการทำงาน
• สภาพจิตใจ
พนักงานที่มีอาการภาวะหมดไฟในการทำงานนั้นจะมีสภาพจิตใจที่ดาวน์มาก ๆ รู้สึกหดหู่ และเครียดกดดันตลอดเวลา เหนื่อยล้า บางรายอาจะถึงขั้นรู้สึกสิ้นหวัง รู้สึกว่าชีวิตตนเองล้มเหลว สภาพอารมณ์แปรปรวนอาจถึงขั้นทะเลาะกับเพื่อนร่วมงานได้ง่าย
• สภาพพฤติกรรมแสดงออก
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้นั้นทางพฤติกรรมจะสามารถสังเกตได้ว่า จะเริ่มสื่อสารกับผู้อื่นน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน เพื่อน หรือแม้กระทั่งครอบครัว จะเริ่มมีโรคส่วนตัวสูงขึ้น ไม่อยากสุงสิงกับใคร มาทำงานสาย และไม่กระตือรือร้นในการทำงาน จนบางครั้งเหมือนหุ่นยนต์ที่ทำงานไปเรื่อย ๆ แบบไม่มีชีวิตจิตใจ
รับมือและทำการรักษาภาวะหมดไฟได้อย่างไร?
การรักษาภาวะหมดไฟนั้นก็ไม่ต่างจากโรคร้ายชนิดอื่น คือคุณต้องรู้จักหันกลับมาดูแลตัวเอง ใส่ใจสุขภาพร่างกายและจิตใจให้มากขึ้น หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารและนอนหลับให้เพียงพอ แบ่งแยกเวลางานและเวลาพักผ่อนให้ดี เมื่อเลิกงานควรที่จะหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เพื่อช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายลดความกดดันและความเครียด
แค่นี้ก็จะสามารถหลีกหนีจากภัยร้ายได้แล้ว แต่หากใครที่มีอาการรุนแรง เราขอแนะนำให้คุณควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน