อยากทำงานโลจิสติกส์ต้องเตรียมตัวอย่างไรกันบ้าง

                ใครที่มีความชอบในสายงานโลจิสติกส์เป็นทุนเดิมอยู่มักเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นสายงานที่ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย เนื่องจากจบไปสามารถต่อยอดทำงานได้หลากหลายมากกว่างานที่เกี่ยวกับการจัดส่งสินค้าอย่างเดียว ยังรวมไปถึงอาชีพที่มีความน่าสนใจอย่าง นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ Logistics Analyst  Material Planner นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือแม้กระทั่งการประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น การนำเข้าและส่งออก  ตัวแทนการขนส่งทั้งทางบกและทางทะเล เป็นต้น แต่ก่อนที่จะไปประกอบอาชีพเหล่านี้ จะดีกว่าไหมถ้าหากอยากเตรียมตัวให้พร้อม มารู้เบื้องลึกเบื้องหลัง รวมทั้งข้อดี ข้อเสียจากเพื่อนที่ทำงานสายนี้มาหลายปีที่ทางเว็บไซต์เรารวบรวมมาให้แล้ว มาดูกันได้เลยค่ะ

ความคิดเห็นจากผู้ที่ทำงานในสายงาน “โลจิสติกส์”

คำถาม : งานที่ทำเป็นอย่างไร?

  • งานเกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในโอกาสทางการค้า การควบคุมต้นทุนในองค์กร พัฒนาการไหลของสินค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นงานการบริหาร Supply Chain ขององค์กร
  • ประชุมวางแผนร่วมกันทักแผนกที่เกี่ยวข้องในงานการความผลิต เพื่อดูความพร้อม ก่อนเริ่มทำงาน การผลิต และในกรณีที่การผลิตไลน์มีปัญหา
  • การติดต่อประสานงานกบแผนก warehouse เพื่อเช็คตรวจสอบ สินค้าคงคลังให้อยูในระดับพอดี และตรวจสอบเรื่องอายุงานของสินค้าคงคลัง และส่วนที่สูญหาย
  • ดูแลระบบงานในคลังสินค้าทั้งหมด ตั้งแต่กระบวนการนำวัตถุดิบเข้าจนถึงส่งสินค้าออกให้กับทางลูกค้า ทุกกระบวนการเช่น ดูแลเก็บรักษา สต๊อกสินค้า นำจ่ายสินค้าออก
  • ดูแลระบบงานจัดส่งสินค้าให้กับกลุ่มลูกค้า ดูแลการจ่ายและจัดสินค้าหน้างาน
  • วิเคราะห์ต้นทุนและสามารถแก้ปัญหาหน้างานและต่อรองราคากับ superisor ในเรื่องของค่าขนส่งได้
  • Support ลูกค้าด้าน Logistics ทั้งระบบ ทั้งการนำเข้าและส่งออก

คำถาม : เสน่ห์ของสายอาชีพ?

  • เป็นหัวใจของการพัฒนาการผลิต และการค้า ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นการควบคุม และสร้างโอกาสด้านการค้าในรูปแบบของการลดต้นทุน และเหมือนแม่บ้านในครอบครัวที่จะต้องทำทุกอย่าง ควบคุมทุกเรื่อง ส่วนงานอื่นๆ ดูแลเฉพาะส่วนของตัวเอง
  • เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์การทำงานโดยตรง จะมีความแตกต่างกับการศึกษาที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ จึงต้องปรับให้สอดคล้องต้องอาศัยประสบการณ์
  • เป็นงานที่ท้าทาย แข่งกับเวลาและความแม่นยำ
  • งานคลังสินค้าเป็นงานที่น่าสนใจและมีเสน่ห์ตรงที่เป็นงานที่เริ่มต้นของทุกธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม งานแขนงนี้มีเสน่ห์ตรงทำให้เราต้องทำงานอย่างแม่นยำ ถูกต้อง
  • มีความท้าทาย อยู่เสมอทุกวัน มีปัญหาให้คิดให้เเก้อยู่ตลอดเวลา

คำถาม : ข้อดีของสายอาชีพ?

  • สายงานที่ท้าทายความสามารถ เหมือนเป็นเจ้าของบริษัท การดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดผลกำไรสูง แต่หากดำเนินการไร้ประสิทธิภาพ ก็จะก่อให้เกิดต้นทุนที่สูงเช่นกัน
  • ไม่อยู่นิ่งต้องปรับตัวตลอดเวลา
  • ได้รู้การนำเข้า ส่งออกสินค้า สามารถนำเอาประสบการณ์ไปใช้ในการทำธุรกิจของตัวเอง
  • มีความยืดหยุ่นสูงตามหน้างาน รายได้ดี
  • ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามความต้องการของลูกค้า

คำถาม : ข้อเสียของสายอาชีพ?

  • ไม่มีเวลาแน่นอนและต้องพร้อมแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเสมอ
  • คนที่ทำงานในส่วนนี้บางครั้งจะมีความกดดันและความเครียด ไม่แพ้พนักงานที่ทำในส่วนที่เป็น core ของการผลิต
  • พร้อมประสานทุกฝ่าย มีความสามารถในการประสาน เข้าใจในการทำงาน Cross funtional และรับความกดดันได้
  • ถ้าผิดพลาด จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจอย่างมาก
  • อาจมีความจำเจในด้านสายงาน ทำให้เบื่อง่าย บางงานอาจไม่ค่อยได้หยุดในช่วงเทศกาล เช่น ศูนย์กระจายสินค้า หรืองานที่ต้อง support ลูกค้าตลอด เป็นต้น

คำถาม : ความรู้ที่ต้องใช้?

  • การจัดซื้อ การบริหารคลังสินค้า การบริหารการขนส่ง การบริหารความต้องการ การควบคุมปริมาณการขายและความต้องการ เรื่องการบริหารวัตถุดิบ การจัดการระบบ MRP ERP
  • การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน
  • ภูมิประเทศ เส้นทาง แผนที่ การคำนวณต้นทุนขนส่ง ไอที
  • การจัดการ การบัญชี การตลาด การปกครอง
  • การวางแผนในด้านต่างๆ จิตวิทยา องค์กร ภาษาอังกฤษ บัญชีเบื้องต้น

คำถาม : ทักษะความสามารถที่ควรมีในสายงานนี้?

  • เก่งในการประสานงานและติดตามงาน
  • กล้าตัดสินใจ
  • เก่งในการวางแผน
  • ซื่อสัตย์สุจริต
  • เก่งในการบริหารเวลา
  • ทำงานภายใต้ความกดดันได้ดี
  • กระตือรือร้น
  • มีความรับผิดชอบสูง
  • เก่งในการบริหารคน
  • เก่งในการนำแผนมาปฏิบัติ
สมัครงานกับบริษัทชั้นนำทันที สร้าง Super Resume (ใบสมัครงาน) เลย ฟรี!

คำค้นหายอดนิยม

..