สัมภาษณ์งานอย่างไรให้ปัง ไม่แป้ก ได้งานตามที่หวังแน่นอน!
เราควรเตรียมตัวสัมภาษณ์งานอย่างไร

               หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหางานอยู่และพบตำแหน่งว่างที่คุณสนใจปรากฏขึ้นมา เชื่อว่าคุณจะไม่ลังเลที่จะสมัครงานตำแหน่งนั้นทันที และหากโชคดี CV ของคุณเตะตาฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กรนั้น คุณก็จะได้รับเชิญให้เข้ารับการสัมภาษณ์งานในไม่ช้า (อ่านเคล็ดลับการทำ CV ให้ปัง ได้ที่นี่) ที่นี้สิ่งที่คุณต้องตื่นเต้นเป็นเรื่องถัดไปนั่นก็คือจะทำอย่างไรให้การสัมภาษณ์เป็นไปด้วยดีและได้ตำแหน่งงานนี้ในที่สุด วันนี้ พวกเรามีเช็กลิสต์ให้คุณทำก่อนไปสัมภาษณ์เพื่อช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะชิงตำแหน่งงานนั้นมาสำเร็จ

รวมเช็กลิสต์สิ่งที่ควรทำสำหรับเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน

               𑇐 ค้นหาแรงขับเคลื่อนในการทำงานของตัวเอง

                  ไม่ใช่เรื่องผิดที่หลาย ๆ คนเลือกสมัครงานในตำแหน่งที่ตัวเองคิดว่าทำได้และมีคุณสมบัติเหมาะสม แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าความทะเยอทะยานในการทำงานเหล่านั้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คุณเป็นคนที่ใช่ของตำแหน่งที่ว่างอยู่ คุณอาจจะลองมองหาคำตอบของคำถามนี้จากความสุขในเนื้องานหรือมองจากความชื่นชอบในลักษณะของธุรกิจก็ได้
ซึ่งแรงขับเคลื่อนไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่ระดับเวิลด์คลาส เพียงแค่เป็นสิ่งที่ทำให้แววตาของคุณเป็นประกายได้ก็เพียงพอแล้ว

               𑇐 เตรียมตัวให้ดีก่อนไปสัมภาษณ์

                  ซุนวู นักปรัชญาชาวจีนผู้เขียนตำราพิชัยสงคราม ได้กล่าวไว้ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” นั่นหมายถึงการทำความรู้จักกับตัวเองและอีกฝ่ายให้พร้อมก่อนเริ่มลงมือทำเพื่อที่จะทำให้ทุกย่างก้าวมีแต่ความสำเร็จ สำหรับการสัมภาษณ์งาน นอกจากการมองเห็นศักยภาพและแรงขับเคลื่อนของตัวเองแล้ว การทำความรู้จักกับองค์กรที่จะไปสัมภาษณ์นั้นก็เป็นสิ่งที่ดีที่จะช่วยเพิ่มความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์ได้ ตั้งแต่ประวัติขององค์กร วิสัยทัศน์ โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ผ่านข่าวสารที่องค์กรเผยแพร่ รวมไปถึงชุดคำถามที่เป็นไปได้จากตำแหน่งงานที่คุณไปสัมภาษณ์

เตรียมตัวให้ดีก่อนไปสัมภาษณ์งาน

               𑇐 สร้างความประทับใจในทุกองศา

                  เมื่อเตรียมตัวพร้อมแล้ว ในวันสัมภาษณ์ พยายามสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับ
ผู้สัมภาษณ์ทุกคน พยายามไปถึงสถานที่สัมภาษณ์ก่อนเวลาประมาณ 15 นาทีเพื่อหลีกเลี่ยงการไปสัมภาษณ์งานสาย แถมยังช่วยให้คุณมีเวลาตั้งสติก่อนสัมภาษณ์เพิ่มด้วยเช่นกัน
ในส่วนของการแต่งตัว พยายามเลือกชุดที่ดูเป็นมืออาชีพและเหมาะสมที่สุด อาจจะเป็นเสื้อแขนยาวสีสุภาพกับกางเกงหรือกระโปรงที่มีความยาวพอเหมาะ หากเป็นการสัมภาษณ์ออนไลน์ก็สามารถใช้วิธีเดียวกันได้ แต่อาจจะกดจอยก่อนเวลาสัก 5 นาทีและแต่งตัวแบบ smart casual ได้ สำคัญที่สุดคือสภาพแวดล้อมของการสัมภาษณ์ควรจะไม่มีเสียงดังและมีอินเตอร์เน็ตที่เสถียร

               𑇐 มองให้เห็นถึงวิธีการประยุกต์ใช้สิ่งที่ตัวเองมีอยู่

                  ทุก ๆ ตำแหน่งงานล้วนต้องการประสบการณ์หรือทักษะเพื่อมาเติมเต็มเสมอ สำหรับผู้ที่เคยผ่านการทำงานมาก่อนแล้ว ให้ลองพิจารณาดูว่าประสบการณ์หรือทักษะที่ได้จากตำแหน่งงานในอดีตและปัจจุบันสามารถสอดคล้องกับตำแหน่งงานที่จะสัมภาษณ์นี้ได้อย่างไร หรือลองดูจาก Soft skills ที่สั่งสมมาก็ได้ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา เป็นต้น หากเพิ่งเรียนจบออกมาใหม่หมาด ๆ ให้ลองพิจารณาจากรายวิชาที่เรียนและกิจกรรมนอกหลักสูตร กิจกรรมอาสา หรือการแข่งขันที่เคยเข้าร่วมว่าแต่ละอย่างตอบโจทย์กับตำแหน่งงานใหม่นี้อย่างไร

ขณะสัมภาษณ์งานควรแสดงออกอย่างมั่นใจ

               𑇐 แสดงออกอย่างมืออาชีพ

                  ความประหม่ามักจะนำมาซึ่งความผิดพลาด การแสดงออกอย่างมั่นใจและมืออาชีพระหว่างสัมภาษณ์งานมักจะช่วยให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกว่าคุณมีความพร้อมในการทำงาน ไม่ใช่เพียงเฉพาะแค่การตอบคำถามเท่านั้น ภาษามือและอากัปกิริยาที่แสดงออกก็ต้องมี
ความโปรเฟสชันนัลด้วย พยายามสบตาผู้สัมภาษณ์บ่อย ๆ ระหว่างให้สัมภาษณ์และไม่ปล่อยตัวเองให้ชิลหรือตึงเกินไป ขณะตอบคำถามให้เปล่งเสียงด้วยน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความมั่นใจและความกระตือรือร้น และที่สำคัญที่สุด อย่าลืมปลดปล่อยรอยยิ้มออกมาด้วยระหว่างการสัมภาษณ์

               𑇐 ขายตัวเองให้เต็มที่

                  พื้นที่สำหรับคุณมาถึงแล้ว! หากผู้สัมภาษณ์ให้โอกาสคุณในการพูดถึงจุดแข็ง
และความสำเร็จที่ผ่านมา อย่าเขินอายที่จะพูดถึงสิ่งเหล่านี้ พยายามเลือกเล่าประสบการณ์
ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัครไปเพื่อทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกมั่นใจว่าคุณคือคนที่ใช่สำหรับเขา ยกตัวอย่างให้ชัดเจนเพื่อทำให้เห็นภาพ วิธีคิด และขั้นตอนในการทำงานของคุณ
สำหรับคนที่เพิ่งเรียนจบ แสดงออกอย่างมุ่งมั่นให้ผู้คัดเลือกเห็นว่าคุณสามารถรับมือกับความรับผิดชอบต่าง ๆ ของหน้าที่นี้ได้

ก่อนสัมภาษณ์งาน เตรียมคำอธิบายสำหรับประเด็นที่มีช่องโหว่

               𑇐 เตรียมคำตอบสำหรับประเด็นที่มีช่องโหว่

                  แน่นอนว่าผู้สัมภาษณ์ทุกคนอยากรู้ถึงสาเหตุในการลาออกจากที่ทำงานเดิม
ซึ่งบางทีคำตอบที่มีอยู่นั้นยากที่จะพูดอย่างตรงไปตรงมา การเตรียมคำตอบที่มีความหมาย
ใกล้เคียงกันแต่เรียบเรียงมาอย่างดีก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยอุดรอยรั่วให้กับคุณได้ ไม่ใช่เพียงแค่ประเด็นนี้เท่านั้น หากคุณมีช่วงเวลาที่ว่างงานอยู่นานพอสมควรหรือมีอายุงาน ณ ที่ทำงานเดิมสั้น คุณต้องเตรียมคำตอบที่พร้อมไว้สำหรับคลายข้อสงสัยของผู้สัมภาษณ์ด้วย ซึ่งแต่ละคนจะมีวิธีอธิบายสถานการณ์เหล่านี้ที่ไม่เหมือนกัน สำคัญที่คำตอบควรจะออกมาในแง่บวกหรือเป็นการสะท้อนถึงเจตจำนงในการทำงาน ไม่ใช่อคติส่วนตัว

               𑇐 ถามคำถามที่ใช่

                  ในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์งาน ผู้สัมภาษณ์มักจะเปิดโอกาสให้คุณถามกลับได้ พยายามเลือกคำถามที่แสดงถึงความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำงาน เช่น ความท้าทายของตำแหน่งงานนี้คืออะไร หรือถามคำถามที่ช่วยให้คุณประเมินได้ว่าสิ่งที่องค์กรนี้จะมอบให้กับคุณเป็นสิ่งที่สามารถช่วยเติมเต็มคุณได้หรือไม่ เช่น ที่องค์กรนี้สามารถ work from home
ได้หรือเปล่า มีทุนการศึกษาสำหรับพนักงานหรือเปล่า เป็นต้น ส่วนตัวผู้เขียนเองมักจะใช้คำถามที่สะท้อนถึงบรรยากาศการทำงานหรือวิธีการสร้างแรงขับเคลื่อนที่บริษัทมอบให้กับพนักงาน เช่น มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ work-life balance บริษัทจะทำอย่างไร
เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงาน burnout เป็นต้น


ถามคำถามในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์งาน


                  เมื่อได้ทราบถึงวิธีเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์งานเรียบร้อยแล้วก็ถึงเวลาค้นหางานที่โดนใจในบริษัทที่มีสิ่งแวดล้อมแบบเดียวกับที่คุณตามหา เว็บไซต์ www.jobtopgun.com แหล่งรวบรวมงานที่เหมาะกับคุณมากกว่า 5,000 ตำแหน่งเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่คุณต้องลอง รวมถึงสามารถอ่านรีวิวบรรยากาศการทำงาน สวัสดิการ และอื่น ๆ อีกเพียบที่เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจสมัครงานของคุณได้ทางเว็บไซต์ www.yousayhrsay.com

สมัครงานกับบริษัทชั้นนำทันที สร้าง Super Resume (ใบสมัครงาน) เลย ฟรี!

คำค้นหายอดนิยม

..