การมีธุรกิจเป็นของตนเอง เป็นความฝันของใครหลายคน แต่จะสามารถก้าวไปสู่จุดนั้นได้ต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบ หนึ่งในขั้นตอนสำคัญคือการจดทะเบียนบริษัทให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและรับประกันถึงความโปร่งใสในการดำเนินงาน
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกระบวนการจดทะเบียนบริษัทอย่างละเอียด หรือหากอยากเปิดบริษัทเองต้องทำอะไรบ้าง มาไขข้อสงสัยพร้อมกันในบทความนี้ !
9 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทแบบละเอียด ทำตามได้ Step-by-Step
การจดทะเบียนบริษัทมีกี่ประเภท ?
สำหรับคนที่สงสัยว่าถ้าอยากเปิดบริษัท ต้องทำอะไรบ้าง หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ การจดทะเบียนธุรกิจ ซึ่งตอนนี้ในประเทศไทยมี 2 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่ ทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดา และทะเบียนนิติบุคคล
1. ทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา)
เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีเจ้าของคนเดียว หรือหุ้นส่วนไม่เกิน 3 คน ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ข้อดีคือขั้นตอนง่าย รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายไม่สูง เจ้าของสามารถดำเนินธุรกิจในนามตนเอง และไม่ต้องจัดทำบัญชีที่ซับซ้อน แต่ข้อจำกัดคือเจ้าของต้องมีความรับผิดชอบต่อหนี้สินทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ หรือหนี้สินที่เกิดจากการกระทำของเจ้าของธุรกิจเอง จึงทำให้อาจขาดความน่าเชื่อถือ และเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก
2. ทะเบียนนิติบุคคล
ทะเบียนนิติบุคคลมี 3 ประเภทย่อย ดังนี้
• ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
เหมาะกับธุรกิจที่มีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หุ้นส่วนทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหนี้สินไม่จำกัด ซึ่งหมายถึงทุกคนต้องมีความรับผิดชอบต่อหนี้สินทั้งหมดนั่นเอง ข้อดีคือจัดตั้งง่าย ไม่ต้องใช้ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ สามารถแบ่งปันผลกำไร/ขาดทุนได้ตามสัดส่วน และมีความยืดหยุ่นในการบริหาร แต่ข้อจำกัดคือหุ้นส่วนทุกคนมีความรับผิดชอบไม่จำกัด อาจเกิดข้อพิพาทระหว่างหุ้นส่วนได้ง่าย และอาจขาดความน่าเชื่อถือ
• ห้างหุ้นส่วนจำกัด
มีหุ้นส่วน 2-10 คน แบ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ (Active Parter) และหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบ (Limited Partner) โดยหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบจะมีความเสี่ยงเพียงเท่าเงินลงทุน ทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือมากกว่าแบบห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่ขั้นตอนจดทะเบียนยุ่งยากกว่า
• บริษัทจำกัด
มีผู้ก่อตั้งตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จัดตั้งขึ้นโดยวิธีการแบ่งทุนเป็นหุ้น แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีกลุ่มผู้ถือหุ้นที่จำกัดจำนวน มีความเป็นส่วนตัวและการกำกับดูแลจากภายนอกน้อยกว่า บริษัทจำกัดถูกกำกับดูแลโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดเพียงเท่าจำนวนหุ้นที่ตนถือ และข้อมูลของบริษัทไม่จำเป็นต้องเปิดเผยต่อสาธารณชนมากนัก
• บริษัทมหาชนจำกัด
เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการระดมทุนจากประชาชนทั่วไป ผ่านการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชน ต้องมีผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป และจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนอย่างสม่ำเสมอ บริษัทจำกัดมหาชนช่วยสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือแก่องค์กร และผู้ถือหุ้นก็มีความรับผิดจำกัดเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด
9 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท ฉบับรวบรัด เข้าใจง่าย
สำหรับขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท มีทั้งหมด 9 ขั้นตอน ดังนี้
1. ศึกษาข้อมูลการจดทะเบียนบริษัท
ขั้นตอนแรกคือการศึกษาข้อมูลการจดทะเบียนบริษัททั้งหมด ดังนี้
- ศึกษาประเภทของนิติบุคคลที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ
- ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- บริษัทจำกัด
- บริษัทมหาชนจำกัด
- ศึกษาคุณสมบัติและเงื่อนไขการจดทะเบียนของแต่ละประเภท
- เตรียมเอกสารที่จำเป็นสำหรับการจดทะเบียน
- ศึกษาค่าธรรมเนียมและระยะเวลาในการดำเนินการ
2. ตั้งชื่อบริษัทที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียน
เมื่อกำหนดประเภทนิติบุคคลได้แล้ว ให้คิดชื่อบริษัทที่ต้องการใช้ โดยตรวจสอบให้ตรงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
- ตรวจสอบว่าชื่อบริษัทที่ต้องการใช้ ยังไม่มีผู้จดทะเบียนไว้แล้ว
- ชื่อบริษัทต้องเป็นภาษาไทย หรือภาษาไทยผสมภาษาอังกฤษ
- ชื่อบริษัทไม่ควรมีข้อความที่สื่อความหมายในทางลามกอนาจาร หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี
- ชื่อบริษัทไม่ควรเหมือนหรือคล้ายกับชื่อหน่วยงานราชการ หรือองค์กรระหว่างประเทศ
สามารถยื่นจองชื่อเพื่อจดทะเบียนบริษัทได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยจะยื่นด้วยตัวเองต่อนายทะเบียน หรือยื่นผ่านเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็ได้ โดยเมื่อได้รับการอนุมัติรับรองชื่อบริษัทแล้วต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วัน หากไม่ยื่นในเวลาดังกล่าว ต้องขอจองชื่อใหม่
3. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน
การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิต้องยื่นต่อนายทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พร้อมชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนด แล้วรอรับหนังสือรับรองการจดทะเบียน
4. เปิดให้มีการจองซื้อหุ้นของบริษัท และนัดประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมด
เมื่อจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้ก่อการจัดให้มีการจองซื้อหุ้นทั้งหมด และออกหนังสือนัดประชุมจัดตั้งบริษัท ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ควรเปิดให้มีการจองซื้อหุ้นของบริษัท โดยกำหนดจำนวนหุ้น ราคาหุ้น และระยะเวลาการจองซื้อ หลังจากนั้นนัดประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมดเพื่อแจ้งรายละเอียดที่สำคัญ เช่น วัน เวลา สถานที่ และวาระการประชุม เพื่อจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด
5. ประชุมผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น เพื่อจัดตั้งบริษัท
จัดประชุมผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น เพื่อจัดตั้งบริษัท เลือกตั้งคณะกรรมการ กำหนดอำนาจหน้าที่และค่าตอบแทนของกรรมการ รับรองบัญชีรายชื่อฐานะผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นและจำนวนหุ้น และอนุมัติการจัดตั้งบริษัท
6. จัดตั้งคณะกรรมการบริษัท
จัดตั้งคณะกรรมการบริษัทอย่างเป็นทางการ ที่มีคุณสมบัติตรงตามกฎหมายกำหนด และมีหน้าที่หลักในการบริหารงานของบริษัท จากนั้นคณะกรรมการเรียกเก็บค่าหุ้นจากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น เมื่อครบแล้วกรรมการจัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัท แล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
7. ชำระเงินค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนบริษัท
ชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนบริษัทให้ครบถ้วนตามอัตราที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด
8. จัดเตรียมและยื่นเอกสารสำหรับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทให้ครบถ้วน และยื่นให้แก่นายทะเบียน เช่น
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ก่อตั้งทุกคน
- ทะเบียนบ้านของผู้ก่อตั้งทุกคน
- หนังสือบริคณห์สนธิ (Memorandum of Association)
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
- เอกสารแสดงการยินยอมเป็นกรรมการ
- เอกสารแสดงการจองซื้อหุ้น
- หลักฐานการชำระค่าธรรมเนียม
โดยการยื่นจดทะเบียนต้องทำภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ประชุมจัดตั้งบริษัท ไม่เช่นนั้นต้องจัดประชุมผู้จองซื้อหุ้นใหม่
9. รับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
รอรับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงความสมบูรณ์ในการจัดตั้งบริษัทแล้วอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
หมายเหตุ:
- ขั้นตอนและเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนบริษัทอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของนิติบุคคล
- ควรศึกษาข้อมูลและเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนก่อนไปยื่นจดทะเบียน
- แนะนำให้ปรึกษานักกฎหมายหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการจดทะเบียนบริษัท
แน่นอนว่าเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นหลังจากการจดทะเบียนบริษัทอย่างถูกต้องแล้ว ก็ย่อมจะมีภาระงานและความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการหาพนักงานเพิ่มเติมจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้ ในการรับสมัครพนักงานใหม่ สามารถลงประกาศสมัครงานผ่านช่องทางออนไลน์ได้ผ่านเว็บไซต์ JOBTOPGUN หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ของเราได้ที่ 02-853-6999 หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน JOBTOPGUN ได้ฟรีทั้งระบบ iOS และ Android