CSR สายงานที่มุ่งมั่นพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

          CSR หรือการมีความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร กำลังกลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมมากในองค์กรใหญ่ ๆ ทั่วโลก เนื่องจากการทำ CSR สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับบริษัทได้มีคนรู้จักเพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรควบคู่กันไปด้วย

          ยิ่งในยุคสมัยที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การให้ความสำคัญต่อการดำรงรักษาสภาพแวดล้อมของโลก ถือเป็นกลยุทธ์ในการสื่อสารทางการตลาด เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน บริษัทไหนที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง พร้อมกับหมั่นพัฒนาแนวทางการทำงานใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา มักจะเป็นบริษัทที่สามารถเติบโตจนกลายเป็นองค์กรที่มั่นคงได้ไม่ยากเลย

ประเภทของสายงานกิจกรรม CSR

1. CSR ส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาทางสังคม

          องค์กรหรือบริษัทที่ทำ CSR ในลักษณะนี้ จะเป็นการร่วมระดมทุน จัดหาทรัพยากรขององค์กร เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของปัญหาทางให้สังคมให้คนในองค์กร และรวมถึงประชาชนทั่วไป รับรู้ถึงปัญหาเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ตระหนักถึงความสำคัญและควรให้ความใส่ใจกับปัญหาทางสังคมเหล่านี้ โดย CSR ประเภทนี้ บริษัทมักจะเริ่มต้นด้วยการระดุมทุนภายในองค์กรของตัวเองก่อน และจะเริ่มติดต่อกับองค์กรอื่น ๆ ในภายหลัง

2. CSR เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาทางสังคม

          สายงานกิจกรรม CSR ประเภทนี้ จะเป็นการแก้ปัญหาสังคมโดยที่บริษัทจะร่วมรณรงค์สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรวมถึงประชาชนทั่วไป กระตุ้นให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งในด้านความปลอดภัย ด้านสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม และรวมถึงด้านสุขภาวะ เพื่อแก้ปัญหาสังคมเหล่านั้น และรวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางสังคมเหล่านั้นให้แก่ประชาชนรับรู้มากยิ่งขึ้น

3. CSR บริจาคเพื่อการกุศล

          CSR ลักษณะนี้จะเป็นการบริจาคเงินทุน และรวมถึงทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับกองทุนให้กับการสนับสนุนกับปัญหาประเด็นทางสังคมทั่วไป ซึ่งมักจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามกระแสสังคมในช่วงเวลานั้น ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาไวรัสโควิด 19 หรือปัญหาไฟป่า เป็นต้น

4. CSR อาสาเพื่อช่วยเหลือชุมชน

          การทำ CSR ประเภทนี้ บริษัทจะผลักดันและสนับสนุนให้พนักงานภายในบริษัท พร้อมสละเวลาการทำงานเพื่อเข้าช่วยเหลือแก่ชุมชนตามชนบทที่มักจะขาดแคลนทรัพยากรและเงินทุน เช่น การที่บริษัทพาพนักงานไปออกค่ายอาสาเพื่อพัฒนาโรงเรียนตามชนบท เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่ดีให้กับเด็กในชุมชน พร้อมมอบความรู้ที่ถูกต้องให้กับเด็ก ๆ

5. CSR ประกอบธุรกิจเพื่อสังคม

          เป็นหลักการทำงานของบริษัทที่มุ่งเน้นในเรื่องของการป้องกัน รวมถึงหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม รวมถึงร่วมกันสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และเยี่ยวยาจิตใจแก่ผู้ที่ประสบปัญหาทางสังคมเหล่านั้น ผ่านกระบวนการทำธุรกิจ เช่น บริษัทขายเสื้อผ้าแฟชั่นชื่อดัง จะไม่ใช้ผ้าที่ผลิตจากกลุ่มแรงงานเถื่อน หรือผ้าที่ผลิตจากหนังสัตว์ป่า เป็นต้น

          เป็นอย่างไรกันบ้าง เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คนทำงานทุกคน รวมถึงประชาชนทั่วไป รู้จักการแนวทางการทำงาน และเข้าใจถึงกลยุทธ์การทำ CSR ของบริษัทชื่อดังทั่วโลกมากยิ่งขึ้น ใครที่กำลังมองหางานทำภายในบริษัทชื่อดัง หรือชื่นชอบการทำงานที่จะช่วยพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น การทำงานในสายงาน CSR ของแต่ละองค์กรหรือบริษัทก็นับเป็นตัวเลือกที่ดีเลยทีเดียว

สมัครงานกับบริษัทชั้นนำทันที สร้าง Super Resume (ใบสมัครงาน) เลย ฟรี!

คำค้นหายอดนิยม

..