เจาะสายงานไฮเทค! โปรแกรมเมอร์ คืออะไร มีกี่ประเภท?

             สำหรับนักศึกษาจบใหม่จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ และกำลังสนใจในสายอาชีพโปรแกรมเมอร์แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร และแบ่งเป็นสายงานได้กี่ประเภทย่อย บทความนี้มีคำตอบ

อาชีพโปรแกรมเมอร์คือใคร ทำความรู้จักได้ที่นี่!

โปรแกรมเมอร์ คืออะไร และมีกี่ประเภท?

เปิดโลก! รู้จักอาชีพโปรแกรมเมอร์ คืออะไร ทำอะไรบ้าง?

             สำหรับคนที่จบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ ต้องไม่พลาดที่จะเคยได้ยินชื่ออาชีพ “โปรแกรมเมอร์” ในลิสต์ความเป็นไปได้ของการต่อยอดทางสายอาชีพอย่างแน่นอน

             โดยโปรแกรมเมอร์ ก็คืออาชีพหนึ่งที่มีหน้าที่พัฒนาโปรแกรมหรือเขียนขึ้นมาใหม่ โดยสามารถทำได้ตั้งแต่การสร้างซอฟต์แวร์เพื่อใช้งาน ตลอดจนการสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตโฟน รวมถึงงานระบบอื่น ๆ อีกมากมาย เรียกได้ว่าคร่ำหวอดอยู่ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม แถมยังมีเปอร์เซ็นต์เติบโตสูง เนื่องจากความต้องการในตลาดแรงงานที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยที่กลายเป็นแบบดิจิทัลอีกด้วย

ทำไมสายอาชีพโปรแกรมเมอร์ ถึงกลายเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน?

             เนื่องจากเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง ทั้งยังเป็นที่ต้องการในทุกอุตสาหกรรมที่จะนำซอฟต์แวร์ไปใช้ เพื่อให้ตอบสนองต่อจุดประสงค์ในการดำเนินงาน โปรแกรมเมอร์จึงกลายเป็นอาชีพสำคัญที่มีหน้าที่ช่วยสร้างและดูแลให้ซอฟต์แวร์สามารถใช้งานได้จริง พร้อมพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอยู่เสมอ 

             ด้วยการแข่งขันและความต้องการที่เพิ่มขึ้นในทุกภาคส่วนนี้แหละ ที่ทำให้โปรแกรมเมอร์คือหนึ่งในตำแหน่งอาชีพที่กลายเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานปัจจุบัน ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ ในอนาคตด้วย

รู้ก่อน พร้อมก่อน! โปรแกรมเมอร์มีกี่ประเภท?

             หลายคนอาจไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วในสายอาชีพโปรแกรมเมอร์นั้น มีกี่ประเภทกันแน่ ซึ่งในปัจจุบันอาชีพนี้มีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 4 ประเภท ตามสายงานที่แตกต่างกันออกไป ลองมาดูกันดีกว่าว่าประเภทไหนที่จะมีขอบเขตงานตรงโจทย์กับตัวคุณบ้าง

1. Systems Programmer

             Systems Programmer หรือโปรแกรมเมอร์สร้างระบบปฏิบัติการ คือสายงานที่อยู่เบื้องหลังคอยพัฒนาระบบต่าง ๆ โดยรับผิดชอบหน้าที่ตั้งแต่การติดตั้ง การทำงาน การสร้างโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขให้เกิดเสถียรภาพระหว่างการใช้งานสูงสุดอีกด้วย

2. Web Programmer

             โปรแกรมเมอร์ผู้อยู่เบื้องหลังเว็บไซต์ต่าง ๆ ในโลกอินเทอร์เน็ต มีหน้าที่รับผิดชอบหลัก ๆ ด้านการเขียนเว็บไซต์ให้เกิดการแสดงผลตามข้อมูลที่กำหนด และสามารถรับข้อมูลจากผู้ใช้งานไปได้พร้อม ๆ กัน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่คอยดูแลและปรับปรุงระบบเว็บไซต์ เพื่อไม่ให้เซิร์ฟเวอร์ล่ม ในขณะเดียวกันบางตำแหน่งก็ยังมีหน้าที่ออกแบบหน้าเว็บไซต์ UX/UI ให้ง่ายต่อการใช้งานอีกด้วย

3. Game Programmer

             นับว่าเป็นอีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เมื่อในประเทศไทยการเติบโตของวงการเกมและ E-Sport ถือว่ามาแรงแซงทุกโค้งอย่างแท้จริง ทำให้ตลาดของอุตสาหกรรมเกมต้องเร่งพัฒนา และโปรแกรมเมอร์ก็คือหนึ่งในอาชีพที่มีบทบาทสูงสุด เพราะมีหน้าที่เขียนการทำงานต่าง ๆ ภายในเกม ตั้งแต่การแสดงผลภาพ รูปแบบ ไปจนถึงการดำเนินเกม นอกจากนี้ยังมีสายออกแบบแอนิเมชันเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย 

4. Application Programmer

             ปิดท้ายกันด้วย โปรแกรมเมอร์สายแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตโฟนและเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาทุกชนิด รวมไปถึงคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ โดยจะเน้นไปที่การออกแบบและทดสอบการทำงานของโปรแกรม เพื่อนำกลับมาพัฒนาให้เกิดประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งานนั่นเอง

รวมทักษะที่จำเป็นต้องมีติดตัวสำหรับอาชีพโปรแกรมเมอร์

              หลังจากที่รู้แล้วว่าอาชีพโปรแกรมเมอร์ คือใคร และมีกี่ประเภท จะเห็นได้ว่าในแต่ละสายต่างก็มีความถนัดและความชำนาญที่แตกต่างกัน ในบทความนี้จึงรวบรวมทักษะที่จำเป็นสำหรับคนที่สนใจในสายงานนี้มาฝาก ลองมาดูกันดีกว่าว่า หากจะประกอบอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์ จะมีทักษะอะไรบ้างที่ต้องเพิ่มหรือพัฒนาให้มากขึ้น

ทักษะของการเป็นโปรแกรมเมอร์ คืออะไร

1. Technical Skill

  • API (Application Programming Interface) ทักษะการประสานงาน รับส่งข้อมูลระหว่าง Frontend และ Backend
  • Clean Code ทักษะเกี่ยวกับการเขียนโค้ดให้มีโครงสร้างไม่ซ้ำซ้อน อ่านแล้วเข้าใจ สามารถทดสอบ แก้ไข และพัฒนาต่อยอดได้
  • Automate Testing ทักษะการเขียนโค้ดทดสอบแบบอัตโนมัติอย่าง Unit test, Integration test และ End to end test เพื่อช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพ ทดแทนการทำแบบ Manual Testing
  • Version Control ทักษะการใช้เครื่องมือบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ของทีม
  • Code Reviews ทักษะการตรวจสอบความถูกต้องของโค้ด ก่อนนำขึ้นระบบ เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
  • Software Delivery หรือ Deploy โค้ดขึ้นระบบ ซึ่งในปัจจุบันหลาย ๆ องค์กรได้มีระบบขนาดใหญ่เข้ามาช่วยทำ Automate Deploy เพื่อมาช่วยโปรแกรมเมอร์ ให้ลดระยะเวลาการทำงาน ได้รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น

2. Soft Skill

  • Business Mindset ทักษะการปรับมุมมอง ให้เห็นตัวเองเป็นธุรกิจหรือบริการแบบหนึ่งที่ต้องมีการพัฒนา ต่อยอดอยู่เสมอ เพื่อให้มีประสิทธิภาพตอบโจทย์การทำงานได้สูงที่สุด
  • Product Mindset ทักษะการคิดคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาให้ออกมาตอบโจทย์ผู้ใช้งานอยู่เสมอ
  • Communication Skill ทักษะการสื่อสารและทำงานร่วมกันภายในองค์กร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน รวมทั้งต้องสามารถสื่อสารและอธิบายเรื่องทางเทคนิคยาก ๆ ให้เข้าใจง่าย และเห็นภาพรวมที่ตรงกันได้มากที่สุด
  • Making Tough Decision ทักษะการตัดสินใจกับปัญหายาก ๆ ผ่านการคิด วิเคราะห์ อย่างรวดเร็ว ถี่ถ้วน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมั่นใจ

             จะเห็นได้ว่าการเป็นโปรแกรมเมอร์ ไม่ใช่แค่เรียนจบตรงสายก็สามารถทำงานได้เท่านั้น แต่ยังต้องมีทักษะแบบ Full Options ติดตัวมาด้วย และสำหรับใครที่อยู่ในช่วงสมัครงานสายโปรแกรมเมอร์ และเป็นเด็กจบใหม่หลงทิศ หวังว่าบทความนี้จะช่วยเหลือในการวางแผนหางานได้ไม่มากก็น้อย

             แต่ถ้าใครมั่นใจแล้วก็สามารถกดเข้ามาฝากเรซูเม่และหางานที่ใช่ได้ผ่าน JOBTOPGUN แพลตฟอร์มหางานฟรีที่ได้รับการยอมรับมากกว่า 30,000 บริษัทชั้นนำ นอกจากนี้ยังมีระบบ Super Resume ที่ให้คุณได้สร้าง Resume อย่างเป็นมืออาชีพ พร้อมนำเสนอให้คุณโดดเด่น ตรงคุณสมบัติกับที่บริษัทต้องการมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีรีวิวบริษัทที่ช่วยให้คุณได้ทำความรู้จักตามความจริง ดูแลให้หางานง่าย ได้งานดี เริ่มเลยที่เว็บไซต์ //www.jobtopgun.com/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-853-6999

สมัครงานกับบริษัทชั้นนำทันที สร้าง Super Resume (ใบสมัครงาน) เลย ฟรี!

คำค้นหายอดนิยม

..