เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับการพูดถึงมากขึ้นอย่างอาชีพ Developer แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเนื้องานของอาชีพนี้คืออะไรบ้าง มีความหลากหลายมากแค่ไหน และทำอย่างไรจึงจะได้เป็น วันนี้ พวกเราได้หาคำตอบของคำถามเหล่านี้มาให้ทุกคนรู้จักและพัฒนาทักษะที่สำคัญต่ออาชีพนี้กัน!
รู้จักกับ Developer อาชีพนี้มีหน้าที่อะไร อยากเป็นต้องจบอะไร?
Developer คืออะไร
นักพัฒนา (Developer) คืออีกหนึ่งอาชีพที่มีความสำคัญต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน หน้าที่ของพวกเขามุ่งเน้นไปที่การสร้าง ผลิต และพัฒนาระบบต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน โดยที่ระหว่างทางก็จะต้องทดสอบระบบ แก้บัก และปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้
อาชีพนักพัฒนานั้นมีหลากหลายแขนงมาก ยกตัวอย่างเช่นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ซึ่งออกแบบและอัปเกรดซอฟต์แวร์หรือระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในวัตถุประสงค์ที่กำหนด
𑇐 นักพัฒนาเว็บไซต์ ผู้ซึ่งสรรค์สร้างเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้เราสามารถเข้าใช้งานได้อย่าง
สะดวก
𑇐 นักพัฒนาโปรแกรมหลังบ้าน ผู้ที่คอยทำให้การจัดเก็บข้อมูลหรือการประมวลผลอื่น ๆ
ของระบบเบื้องหลังนั้นราบรื่น
𑇐 นักพัฒนาโปรแกรมหน้าบ้าน ผู้ที่คอยจัดการเบื้องหน้าของแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์
ให้เกิดเป็นประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งาน
𑇐 นักพัฒนาโปรแกรม Full-Stack ผู้ซึ่งดูแลครอบคลุมทั้งระบบหลังบ้านและระบบ
หน้าบ้าน
𑇐 นักพัฒนาเกม ผู้ออกแบบและผลิตระบบต่าง ๆ จนกลายเป็นเกมที่เราเล่นกันในทุกวันนี้
ยังมีนักพัฒนาประเภทอื่นอีกเพียบซึ่งทุกคนล้วนทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นหลัก สามารถเขียนโค้ด แก้ไขโค้ด และออกแบบการประมวลผลของระบบได้
ทักษะที่ต้องมีของ Developer
ทักษะสำคัญที่จำเป็นต่ออาชีพนักพัฒนามีความหลากหลายมาก เพราะแต่ละสายที่กล่าวไปข้างต้นก็จะมีโฟกัสของเนื้องานในเรื่องที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า ประสิทธิภาพในการทำงานของหลังบ้าน การผลิตซอฟต์แวร์เพื่อวัตุประสงค์เฉพาะอื่น ๆ ไปจนถึงระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน พวกเราจึงลิสต์เป็นทักษะที่นักพัฒนาทุกประเภทต้องมี ดังนี้
1) ภาษาคอมพิวเตอร์
ถ้ามนุษย์ใช้ภาษาอังกฤษเป็นตัวกลางในการสื่อสารกันระหว่างผู้คนทั่วโลก ภาษาคอมพิวเตอร์ก็คือตัวกลางในการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ด้วยการใส่โค้ดลงไปในระบบของคอมพิวเตอร์ มนุษย์สามารถออกคำสั่งให้คอมพิวเตอร์สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ วิธีการนี้เองคือสเต็ปแรกของการสร้างและพัฒนาระบบต่าง ๆ
ภาษาคอมพิวเตอร์ก็มีความหลากหลายไม่แพ้ภาษามนุษย์ หากคุณต้องการเป็นนักพัฒนา คุณต้องเรียนรู้และสามารถเขียนโค้ดภาษาคอมพิวเตอร์ได้อย่างน้อย 1 ภาษา นี่คือตัวอย่างของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสร้างโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ
𑇐 JavaScript
𑇐 HTML
𑇐 CSS
𑇐 PHP
𑇐 Python
2) ทักษะการแก้ปัญหา
การพัฒนาและทดสอบโปรแกรมล้วนเกิดปัญหาได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นบัก โค้ดไม่ประมวลผล ไปจนถึงการที่โค้ดทำงานไม่ตรงตามที่ต้องการ ถ้าคุณต้องการที่จะประกอบอาชีพนี้ คุณต้องมีทักษะในการระบุปัญหาและแก้ไขปัญหาให้ถูกจุดเพื่อทำให้ผลงานของคุณออกมาใช้งานได้อย่างสมบูรณ์
3) ภาษาอังกฤษ
เนื่องจากองค์ความรู้และงานวิจัยที่ก้าวหน้าในสายงานนี้ส่วนมากจะมาจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก การที่คุณสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการฟัง-อ่านได้คล่องแคล่วก็จะช่วยให้คุณศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลภาษาต้นฉบับได้เร็วขึ้น หากคุณสามารถพูด-เขียนภาษาอังกฤษได้ดีด้วย คุณอาจได้รับโอกาสจากบริษัทในการไปเรียนรู้งานที่ต่างประเทศด้วย
เรียนอะไรถึงได้เป็น Developer
ด้วยความที่อาชีพนี้มีการใช้โปรแกรมและภาษาคอมพิวเตอร์แทบจะทุกชั่วโมงการทำงาน คนที่เรียนจบจากสายวิศวะ คอมพิวเตอร์ หรือ IT จะได้เปรียบมากกว่าในการมาทำงานตำแหน่งนี้ หากให้ระบุเป็นชื่อสาขาแล้ว สาขาที่เรียนเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม ซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชันโดยตรงมีดังนี้สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
𑇐 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
𑇐 สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
𑇐 สาขาวิศวกรรมเว็บไซต์และเทคโนโลยีการสื่อสาร (Mobile Technology and
Website)
𑇐 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ (Applied Computer Science)
𑇐 สาขาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)
𑇐 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
ไม่ต้องเสียใจไปสำหรับคนที่ต้องการเป็นนักพัฒนาแต่ไม่ได้จบสายตรงมาจากสาขาเหล่านี้หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เพราะในปัจจุบัน คุณสามารถศึกษาและพัฒนาความสามารถเพิ่มเติมได้ที่สถาบันอบรมด้านการเขียนโค้ด เขียนโปรแกรม และภาษาคอมพิวเตอร์มากมาย
เพื่อให้ได้ใบประกาศนียบัตรมายืนยันความสามารถ รวมถึงการฝึกฝนต่อยอดด้วยตัวเองจนเกิดเป็นผลงานหรือประสบการณ์ที่โดดเด่น
หากใครสนใจและพร้อมแล้วที่จะไปลุยงานสาย Developer สามารถค้นหาตำแหน่งงานที่ว่างอยู่ในองค์กรที่คุณใฝ่ฝันได้ที่ www.jobtopgun.com เว็บไซต์ที่รวบรวมงานมากกว่า 5,000 ตำแหน่ง รวมถึงสามารถอ่านรีวิวบรรยากาศการทำงาน สวัสดิการ และอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจสมัครงานของคุณได้ทางเว็บไซต์ www.yousayhrsay.com