หลายคนประสบปัญหาเป็น ‘ภาวะซึมเศร้า’ ในขณะที่อีกหลายคนต้องเผชิญกับการรับมือกับคนใกล้ตัวที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า ปัจจุบันมีบทความและหนังสือจำนวนมากที่กล่าวถึง ‘โรคซึมเศร้า’ พร้อมวิธีการรับมือกับมัน ทั้งในฐานะผู้ป่วยและคนใกล้ชิด ข้อแนะนำต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งทฤษฎีต่าง ๆ ที่ถูกถ่ายทอดมาสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่งให้เราเข้าใจกับตัวโรคที่ไม่มีเหตุผลนี้มากขึ้น แต่วันนี้เราจะมาบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงของบุคคลที่สาม ที่เคยเผชิญมรสุมของโรคนี้ และผ่านความรู้สึกอยากตายนับครั้งไม่ถ้วน ก่อนจะพบวิธีเรียนรู้และรับมือกับมัน จนสามารถอยู่กับมันได้จนถึงทุกวันนี้
ภาวะซึมเศร้า เราจะสามารถฟื้นฟูจิตใจจากภาวะนี้อย่างไร
สาเหตุของโรค ‘ซึมเศร้า’ และสิ่งที่ต้องเข้าใจ
สาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นหลากหลายและแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน บางคน
พบเจอปัญหาที่ก่อให้เกิดบาดแผลในจิตใจอย่างรุนแรง หรือพบการสูญเสียที่ไม่อาจรับมือได้ จนส่งผลต่อความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง จนเกิดภาวะซึมเศร้า สำหรับคนใกล้ชิด
อย่างแรกที่เราต้องรู้คือ อย่าถามหา หรืพยายามเข้าใจสาเหตุของการเกิดโรคนี้ขึ้น คนทุกคนไม่มีสิทธิ์ไปตัดสินว่าเรื่องแค่นี้ ไม่สมควรทุกข์หรือทรมาน คนเรามองปัญหาเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน เติบโตมาด้วยสภาพแวดล้แมและสังคมที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น อย่าคิดว่าผู้อ่อน ไม่สู้หรือ อ่อนแอ เพราะท่าทีและความคิดเหล่านี้จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่กับตัวเอง และรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระของคนรอบตัว
ความในใจจากคนที่เคยเป็นโรค ‘ซึมเศร้า’
หญิงสาวคนหนึ่งที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แชร์ให้เราฟังว่า มันไม่ง่ายเลยกับการมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาที่ภาวะซึมเศร้ากัดกินจิตใจของเธอ ความรู้สึกนึกคิดทุกอย่างมันเปลี่ยน
ไปหมดอย่างหาเหตุผลไม่ได้ เศร้ากับเรื่องที่ไม่เคยเศร้า เสียใจ ทุกข์ทรมาน และเหน็ดเหนื่อยกับการใช้ชีวิต ในภาวะนี้ผู้ป่วยไม่ต้องการอะไรเลย นอกจากการรับฟัง และความเข้าใจ รวมถึงกำลังใจเพื่อให้เธอสู้ต่อไป
‘ช่วงแรกที่เรารู้ตัวว่าจิตใจเราไม่มั่นคง เราเลือกจะคุยกับครอบครัว เพื่อนสนิท
และคนรัก ที่เรารู้สึกเป็นเซฟโซนที่สุด ช่วงแรก ๆ ที่ทุกคนยังไม่รู้จักโรคนี้และยังไม่เข้าใจ เราได้ยินคำพูดพวกนี้บ่อยมากทั้ง ‘เรื่องแค่นี้เอง และ ไม่เห็นต้องคิดมากเลย’ พอเรามีความรู้สึกว่า
ไม่อยากอยู่ ก็มักจะได้ยินคำพูดว่า ‘ทำไมไม่รักตัวเอง ทำไมไม่คิดถึงคนอื่นบ้าง’ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้เรากดดัน และทุกข์ทรมาน’ หลาย ๆ คนชอบคิดว่า พวกที่รู้สึกอยากตาย คือพวกที่เกิดอารมณ์ชั่ววูบ แต่ในความเป็นจริง มันคือการที่เราแตกสลายซ้ำ ๆ จนหาทางออกไม่ได้
ความไม่อยากอยู่มันไม่ใช่อารมณ์ชั่ววูบที่เกิดขึ้นแบบไม่คิด แต่มันกลับเป็นความคิดที่ค่อย ๆ เด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ
เรียนรู้และรับมือกับการเป็นโรค ‘ซึมเศร้า’
โรคซึมเศร้า คือโรคชนิดหนึ่ง เหมือนเป็นหวัด ปวดท้อง สามารถรักษาและหายขาดได้ วิธีการรักษาหลัก ๆ คือการกินยา และการพบนักจิตบำบัด
𑇐 การกินยา: เมื่อคุณรู้สึกผิดปกติ หรือพบว่ามีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า คุณควรไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อให้ประเมินอาการ หากพบว่าคุณมีความเสี่ยง จิตแพทย์อาจจะพิจารณาจ่ายยาในกลุ่มแก้ซึมเศร้า โดยหลังรับประทานยา ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถใช้ชีวิตได้ดีขึ้น หากรักษาเร็วเท่าไหร่ ยิ่งหายเร็วเท่านั้น
𑇐 การพบนักจิตบำบัด: คือการรับการปรึกษา พูดคุย กับนักจิตบำบัด โดยส่วนใหญ่
นักจิตบำบัดจะมีความเข้าใจผู้ป่วยกว่าบุคคลธรรมดา และรู้ว่าควรแนะนำอย่างไร รับฟังผู้ป่วยอย่างไร ให้รู้สึกดีและสบายใจขึ้น
○ หากพบว่าตนเองมีความเสี่ยงซึมเศร้า สามารถพบแพทย์ได้ตามช่องทางต่อไปนี้:
▪ โรงพยาบาลรัฐ: ส่วนใหญ่มีจิตแพทย์อยู่แล้ว อัตราค่ารักษาไม่แพง
ใช้สิทธิประกันสังคมหรือบัตรทองได้
▪ โรงพยาบาลเอกชน: เช่น มนารมย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ และอีกมากมาย
ค่ารักษาสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐ แต่ไม่ต้องรอคิวนานเท่า
▪ คลินิกจิตเวช: อีกทางเลือกสำหรับคนที่ไม่อยากไปโรงพยาบาล คือไปคลินิก
จิตเวชซึ่งมีหลากหลายที่ในปัจจุบัน ค่ารักษาพยาบาลกลาง ๆ
▪ จิตแพทย์ออนไลน์: ปัจจุบันสามารถพบจิตแพทย์ออนไลน์ได้ตาม
Application ต่าง ๆ หรือโทร 1323 คุยกับอาสาสมัครจากกรมสุขภาพจิต
ฟรี 24 ชั่วโมง
แล้วคนใกล้ชิดของผู้ป่วย ‘ซึมเศร้า’ ควรทำอย่างไร?
▪ รับฟังอย่างไม่ตัดสิน
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การพูดคุยกับผู้ป่วย ซึมเศร้า บางครั้ง คนใกล้ชิดมักจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ว่าจะพูดหรือทำอะไรก็ดูจะกระทบจิตใจผู้ป่วยได้หมด เพราะฉะนั้นวิธีการแก้ปัญหาชั้นยอดของเรื่องนี้ คือการทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดี โดยไม่เผลอไปตัดสินในสิ่งที่ผู้ป่วยคิด รู้สึก หรือพบเจอ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชหลาย ๆ คน แนะนำว่า ในภาวะที่ผู้ป่วยรู้สึกแตกสลาย สิ่งที่ช่วยเยียวยาและมีค่ามาก ๆ คือการที่มีผู้ที่พร้อมจะรับฟังอย่างเข้าใจ ค่อยเป็นค่อยไป อย่าด่วนให้คำแนะนำหรือตัดสินทั้งที่ผู้ป่วยยังเล่าไม่จบ แม้มันอาจจะดูเหมือนไม่ใส่ใจที่ไม่ได้ตอบหรือแสดงความคิดเห็นอะไร แต่ตราบใดที่ยังอยู่ตรงนี้ คอยรับฟังไปเรื่อย ๆ แค่นี้ก็เพียงพอมากแล้ว สำหรับผู้ป่วยที่กำลังจมอยู่กับความทุกข์ และเมื่อผู้ป่วยดูผ่อนคลายลง หรือสบายใจขึ้น ค่อยพูดก็ยังไม่สาย
▪ ให้กำลังใจและขอบคุณ
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคนหนึ่งเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า คำพูดง่าย ๆ สบาย ๆ ที่จริงใจ สามารถต่อชีวิตเธอได้ในทุก ๆ วัน ในวันที่เธอแตกสลายเป็นชิ้น ๆ เคยมีเพื่อนของเธอคนหนึ่งพูดกับเธอว่า ‘เราอาจจะไม่เข้าใจในสิ่งที่แก้รู้สึก แต่รู้ว่าแกพยายามอยู่ ขอบคุณมากนะ เราดีใจที่ยังมีแกอยู่ในชีวิต’ เธอเล่าให้ฟังว่าถ้าได้ฟังคำพูดเหล่านี้ เมื่อก่อนจากเพื่อนสนิทอาจจะเป็นคำพูดที่ชวนเลี่ยน แต่ในช่วงเวลาที่เปราะบาง คำพูดเหล่านี้มันต่อชีวิตเธอไปได้เรื่อย ๆ เลย
▪ อย่าลืมดูแลตัวเอง ก่อนจะดูแลผู้ป่วย
การรับมือกับผู้ป่วยซึมเศร้า มันไม่ง่ายเลย เมื่อเราไม่ใช่หมอ และเราไม่เคยป่วย ต้องยอมรับว่าคนใกล้ชิดต้องใช้พลักงานบวกในการรับฟัง และเข้าใจ การดูแลตัวเอง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ให้เวลาตัวเอง เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะถ้าเราไม่ดูแลตัวเองให้เต็ม 100 เราก็จะไม่สบายไปมอบพลังงานดี ๆ ให้กับผู้ป่วยได้เช่นกัน
สุดท้าย..จดหมายจากตัวแทนคนที่เป็นโรค ‘ซึมเศร้า’
▪ จดหมายถึง เพื่อนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเหมือนกัน
อยากจะบอกถึงคนที่เผชิญภาวะของอาการซึมเศร้า เราเข้าใจว่ามันยากแค่ไหนในการมีชีวิตอยู่ โลกนี้อาจจะไม่ได้ใจดีกับเรามากนักในช่วงนี้ แต่มันจะดีขึ้น เราเป็นคนหนึ่งที่เคนคิดว่า ยาจะช่วยอะไรได้นะ แต่พอเราลองกินยาดูจริง ๆ เราอยู่ง่ายขึ้นเยอะจริง ๆ ยานี่มันวิเศษมากเลย มันทำให้เราอยู่ได้ดีขึ้น ใช้ชีวิตได้ปกติมากขึ้น อาจจะมีเศร้าบ้าง แต่เราดึงตัวเองกลับมาได้ไวขึ้น อยากให้ลองไปหาหมอดูจริง ๆ สุดท้ายเราอยากจะบอกทุกคนที่เป็นโรคซึมเศร้าว่า ขอบคุณมากจริง ๆ ที่พยายาม ขอบคุณที่ยังมีชีวิตอยู่ เรารู้ว่าทุกคนกำลังพยายาม ขอบคุณมากจริง ๆ เราเชื่อว่าวันนึงมันจะดีขึ้น เหมือนที่เรากำลังดีขึ้น
▪ จดหมายถึง ทุกคนที่อยู่กับพวกเรา ผู้ป่วยซึมเศร้า
เรารู้ว่ามันยากในการอยู่กับเรา ขอบคุณที่ยังอยู่ และพยายาม ความรักและกำลังใจของทุกคนมีค่ากับพวกเรามาก มันช่วยต่อชีวิตพวกเราในทุก ๆ วัน ขอโทษถ้าพวกเราจะไม่มีเหตุผล หรือ อารมณ์อ่อนไหวไปบ้าง แต่อยากจะบอกว่าพวกเราซาบซึ้งใจเสมอที่ทุกคนอยู่กับพวกเรา ขอบคุณจริง ๆ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับการได้อ่านเรื่องราวและมุมมองอีกมุมหนึ่งของโรคซึมเศร้า เราขอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่เผชิญภาวะ โรคซึมเศร้า และครอบครัว คนใกล้ชิดผู้ป่วย ให้หายไว ๆ และแข็งแรงไว ๆ นะคะ สุดท้าย เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะซึมเศร้า เราควรจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดความเครียดน้อยที่สุด
สภาพแวดล้อมการทำงานก็เป็นสิ่งสำคัญ เราใช้ชีวิตเกินครึ่งในที่ทำงานในแต่ละอาทิตย์ เราสามารถมีชีวิตดี ๆ ได้ ด้วยงานที่ดี คิดจะหางานดี ๆ หาได้ที่ www.jobtopgun.com ได้งานดีเพราะมีรีวิวบริษัท อ่านรีวิวบริษัทก่อนสมัครงานได้ที่ www.yousayhrsay.com