การยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นอีกหนึ่งความรับผิดชอบของวัยทำงานทุกคน เพื่อช่วยให้ภาครัฐมีข้อมูลรายได้ของประชาชนสำหรับตัดสินใจออกแบบสวัสดิการและนโยบายเศรษฐกิจที่เหมาะสมขึ้น ผู้ที่จำเป็นต้องยื่นภาษีคือผู้ที่มีเงินได้ขั้นต่ำ 120,000 บาทต่อปี และถ้าหากเงินได้สุทธิต่อปีมากกว่า 150,000 บาทก็จะต้องเสียภาษีเพิ่มด้วย หากคุณยังมีคำถามเกี่ยวกับการยื่นภาษี ในวันนี้ พวกเราขอมาแชร์ข้อมูลที่ต้องรู้เพื่อช่วยในการยื่นภาษีและลดหย่อนภาษี คุณจะได้มีเงินเหลือเพิ่มขึ้นสำหรับปีถัดไปที่กำลังจะมาถึง
มีวิธีใดบ้างที่จะช่วยเราลดหย่อนภาษี?
𑇐 ยื่นแบบภาษีเมื่อใด
เชื่อว่าหลายคนเข้าใจผิดว่าการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (เรียกย่อ ๆ ว่า ภ.ง.ด.) คือต้องยื่นตอนช่วงสิ้นปีของปีนั้น แต่ที่จริงแล้ว ช่วงระยะเวลาที่เปิดให้ยื่นได้คือ
ช่วงไตรมาสแรกของปีถัดไป หรือก็คือ ถ้าต้องการยื่น ภ.ง.ด. ของปี 2565 ก็สามารถส่งเอกสารได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคมของปี 2566 นั่นเอง สิ่งที่ต้องใช้ประกอบ
การยื่น ภ.ง.ด. ให้กับกรมสรรพากร ได้แก่ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือก็คือเอกสารที่แสดงถึงการมีรายได้จากช่องทางต่าง ๆ ตั้งแต่เงินเดือน ค่าจ้าง เงินปันผล และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ได้รับตลอดปี 2565 ที่ผ่านมา รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงถึงการลดหย่อนภาษีได้ เช่น ใบกำกับภาษี ใบเสร็จจากการบริจาคที่ระบุชื่อคุณอยู่ ซึ่งคุณสามารถเลือกที่จะส่งเอกสารเหล่านี้ที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ส่งทางไปรษณีย์ หรือทางออนไลน์ก็ได้ที่เว็บไซต์ //efiling.rd.go.th/rd-cms/ หากไม่ยื่น ภ.ง.ด. ให้กับกรมสรรพากรในช่วงระยะเวลาที่กำหนด คุณอาจเจอค่าปรับเข้าให้
𑇐 เงินได้ต่อปี vs เงินได้สุทธิ
จากที่เกริ่นไว้ข้างต้น หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมระยะห่างระหว่างผู้ที่ต้องเสียภาษีและไม่ต้องเสียภาษีถึงได้แคบขนาดนี้ ที่จริงแล้วมันเป็นเรื่องของคำที่ใช้เรียกต่างหาก
เงินได้ต่อปี คือรายได้รวมทั้งหมดจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทุกใบที่คุณได้รับในปีนั้น ซึ่งมักจะได้รับการหักภาษีไปเรียบร้อยแล้ว
เงินได้สุทธิ คือตัวเลขที่ได้จากการนำเงินได้ต่อปีไปลบกับค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนที่รัฐบาลตั้งไว้เพื่อเป็นการช่วยเซฟภาษีที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มขึ้น ก่อนทำการลดหย่อนภาษี
ตัวอย่าง ถ้าคุณเป็นคนโสดที่มีเงินได้ต่อปี 200,000 บาท ไม่มีบุตรหลาน พ่อแม่อายุไม่เกิน 60 ปี คุณจะได้รับการลดหย่อนค่าใช้จ่ายส่วนตัว 50% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้ 60,000 บาท และค่าประกันสังคมอีก 6,300 บาท เท่ากับว่าเงินได้สุทธิของคุณอยู่ที่ 200,000 – 100,000 – 60,000 – 6,300 = 33,700 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่ต้องเสียภาษี แต่ก็ยังต้องยื่น ภ.ง.ด. อยู่ดี
𑇐 เงินเดือนเท่าใดที่ต้องเสียภาษีสำหรับปี 2565
ในการยื่น ภ.ง.ด. ปี 2565 นี้ ได้มีการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อช่วยเหลือประชาชน
มากขึ้น ทำให้ในปีนี้คนที่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 26,000 บาทไม่ต้องเสียภาษี และคนที่มี
รายได้มากกว่านั้นก็จะต้องเสียภาษีตามอัตราภาษีที่กำหนด สามารถดูอัตราภาษีและวิธีการคำนวณจำนวนเงินภาษีที่จะต้องจ่ายได้ดังนี้
1 – 150,000 | ไม่ต้องเสียภาษี | 0 |
150,001 – 300,000 | 5% | (เงินได้สุทธิ – 150,000) x5% |
300,001 – 500,000 | 10% | [ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x10% ] + 7,500 |
500,001 – 750,000 | 15% | [ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x15% ] + 27,500 |
750,001 – 1,000,000 | 20% | [ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x20% ] + 65,000 |
1,000,001 – 2,000,000 | 25% | [ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x25% ] + 115,000 |
2,000,001 – 5,000,000 | 30% | [ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x30% ] + 365,000 |
5,000,001 บาทขึ้นไป | 35% | [ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x35% ] + 1,265,000 |
𑇐 มีอะไรที่ใช้ลดหย่อนภาษีปี 2565 ได้บ้าง
การลดหย่อนภาษี คือวิธีการใดก็ตามที่ทำให้คุณเสียภาษีน้อยลงจากที่คำนวณด้านบน ซึ่งทางรัฐบาลจะเป็นคนกำหนดมาว่าในแต่ละปีจะมีวิธีการใดบ้างที่ช่วยลดภาษีให้คุณได้บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นการกระตุ้นให้คุณใช้จ่ายกับสิ่งที่ภาครัฐมุ่งเน้นในแต่ละปี สำหรับปี 2565 นี้
มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ช่วยเซฟเงินของคุณจากการจ่ายภาษีได้บ้าง ไปดูกัน!ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
1) ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
2) ค่าลดหย่อนคู่สมรสคนละ 60,000 บาท และกฎหมายอนุญาตให้มีได้สูงสุด 1 คน
3) ค่าลดหย่อนบุตรคนละ 30,000 – 60,000 บาท
4) ค่าลดหย่อนบิดามารดาคนละ 30,000 บาท
5) ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพคนละ 60,000 บาท
6) ค่าฝากครรภ์และทําคลอดตามที่จ่ายจริงแต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน
ท้องละ 60,000 บาท
7) เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป/เงินฝากแบบมีประกันชีวิต ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่เมื่อ
รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
8) เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
9) เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อ
รวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
10) กบข. / กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ /กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อน
ได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15%ของเงินเดือนและเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน
500,000 บาท
11) ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30%
ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและเมื่อรวมกับข้อ 10 แล้วไม่เกิน 500,000 บาท
12) เบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้
ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับข้อ 10 และ 11 แล้วต้องไม่เกิน
500,000 บาท
13) เงินประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 6,300 บาท
14) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 13,200 บาท
และเมื่อรวมกับข้อ 10, 11 และ 12 แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
15) ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของ
เงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับข้อ 10, 11, 12
และ 14 แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
16) ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
17) เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
18) เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
19) ช้อปดีมีคืน 2565 ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
20) เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้
2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนตั้งแต่
ข้อ 1 ถึง 19
21) เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหัก
ค่าลดหย่อนตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 20ปล. ค่าลดหย่อนเหล่านี้จำเป็นต้องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
ในปี 2565 เท่านั้น
การยื่นลดหย่อนภาษีเป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้ทุกคนต้องทำ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องยื่นภาษีด้วยตัวเอง บางบริษัทจะมีแผนกที่ดำเนินการยื่นภาษีให้ ซึ่งนั่นถือว่าเป็นสวัสดิการที่ช่วยลดความลำบากของพนักงานได้ ตามหาองค์กรที่มีสวัสดิการดี ๆ สำหรับช่วยเหลือพนักงานได้ที่เว็บไซต์ www.jobtopgun.com แหล่งรวบรวมงานที่เหมาะกับคุณมากกว่า 5,000 ตำแหน่ง รวมถึงสามารถอ่านรีวิวบรรยากาศการทำงาน สวัสดิการ และอื่น ๆ อีกเพียบ
ที่เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจสมัครงานของคุณได้ทางเว็บไซต์ www.yousayhrsay.com