เจาะลึก! รู้จักประเภทของงานซ่อมบำรุง และเส้นทางสู่อาชีพช่าง

             สายงานช่างเทคนิค ช่างซ่อมบำรุง ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสาขาอาชีพที่มีความต้องการเป็นอย่างมากในตลาดแรงงาน เนื่องด้วยความเติบโตของธุรกิจในทุก ๆ อุตสาหกรรม ทำให้การเพิ่มกำลังการผลิตด้วยเครื่องจักรกลายเป็นโซลูชันสำคัญ ซึ่งก็ต้องมาควบคู่กับการซ่อมบำรุงที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วมากที่สุด สำหรับใครที่มีความสนใจในสาขาอาชีพงานช่างซ่อมบำรุงอยู่แล้ว แต่ยังไม่ค่อยรู้ข้อมูลว่างานช่างซ่อมบำรุง (Maintenance) มีอะไรบ้าง และจะมีโอกาสในการทำงานมากแค่ไหน บทความนี้มีคำตอบ

เจาะประเภทของงานซ่อมบำรุง เตรียมพร้อมสู่เส้นทางอาชีพช่าง

งานช่างซ่อมบำรุง (Maintenance) มีอะไรบ้าง

             ความสำคัญของงานซ่อมบำรุงที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ

             เพราะการซ่อมบำรุง ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการทำงานภายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลโดยตรงต่อสวัสดิภาพการทำงานของเครื่องจักร เครื่องมือ ตลอดจนอุปกรณ์จักรกลทุกประเภท ซึ่งถ้าหากขาดช่างเทคนิคที่มีประสบการณ์และฝีมือที่ดีในการซ่อมบำรุงมาดูแล ก็จะทำให้เกิดโอกาสหยุดชะงักของไลน์การผลิต กระทบต่อคุณภาพ เวลา ผลกำไร และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมตำแหน่งงานช่างซ่อมบำรุง ถึงได้กลายเป็นหนึ่งในตำแหน่งงานที่มีความต้องการสูง

             รู้จักประเภทของงานซ่อมบำรุง มีอะไรบ้าง

             สำหรับประเภทของงานซ่อมบำรุงที่ควรรู้จัก ในฐานะของคนที่กำลังวางแผนจะเข้าสมัครในตำแหน่งงานช่างเทคนิคในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทหลักที่เรียกได้ว่าสำคัญมากต่อกระบวนการผลิต โดยจะประกอบไปด้วย

             1. การซ่อมบำรุงเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance)

             การซ่อมบำรุงเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) เป็นกระบวนการซ่อมบำรุงพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเครื่องจักรหรือชื้นส่วนอุปกรณ์ที่กำลังใช้งาน อยู่ในสภาวะชำรุด/เสียหาย จนไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป ซึ่งกระบวนการซ่อมบำรุงดังกล่าวก็จะเข้ามาช่วยซ่อมแซมส่วนที่ “พัง” ให้กลับมา “ใช้งานได้ตามปกติ” โดยในปัจจุบันจะนิยมใช้กับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่มีนัยสำคัญในการทำงาน เช่น พัดลมระบายอากาศ โคมไฟให้แสงสว่าง เพราะประเมินแล้วว่ามีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการผลิตต่ำ หรืออาจไม่มีผลกระทบเลย จึงทำให้สามารถใช้วิธีนี้ได้โดยไม่ต้องรับความเสี่ยงมากนัก

             2. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)

             ในส่วนของงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) หรือเรียกสั้น ๆ ว่างาน PM นี้ จัดเป็นกิจกรรมซ่อมแซมและเปลี่ยนชิ้นส่วนของเครื่องจักร ที่จะต้องทำตามระยะเวลาที่กำหนด ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องเปลี่ยนก่อนที่จะถึงระยะเวลาสิ้นสภาพการใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการชำรุด และนำไปสู่การ Breakdown ของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งประเภทของงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันจะสามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภทย่อย ได้แก่

  • การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะเวลา (Time-based Preventive Maintenance)

             กระบวนการซ่อมบำรุงตามระยะเวลาที่กำหนด อ้างอิงจากคู่มือของเครื่องจักร โดยจะทำเป็นประจำและเว้นช่วงระยะเวลาเท่ากัน ๆ เช่น ซ่อมบำรุงชุดเครื่องกรองที่ต้องทำทุก 1 สัปดาห์ หรือการเปลี่ยนอะไหล่เครื่องจักรไลน์ผลิตที่ต้องทำทุก 6 เดือน เป็นต้น

  • การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งาน (Usage-based Preventive Maintenance)

             เป็นประเภทของงานซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่จะวางแผนตามลำดับความหนักเบาจากการใช้งานของเครื่องจักรหรือเครื่องมือนั้น ๆ ซึ่งถ้ามีการใช้งานค่อนข้างหนักกว่า ก็อาจจะต้องเข้ารับการบำรุงรักษาก่อนระยะเวลาที่กำหนด เรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์การวางแผนเพื่อรับมือกับประสิทธิภาพการผลิตที่ทำให้ลดความเสี่ยงได้อย่างมั่นใจนั่นเอง

             สาเหตุที่ทำให้อาชีพช่างซ่อมบำรุงเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน

             อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นเกี่ยวกับขอบเขตและประเภทของงานซ่อมบำรุง ก็จะเห็นได้ชัดเลยว่า หากขาดคนทำงานในตำแหน่งนี้ไป ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมการผลิตในทุก ๆ รูปแบบก็จะต้องแบกรับความเสี่ยงจากความเสียหายที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนเครื่องจักร ระยะเวลาการผลิตที่ล่าช้า ตลอดจนการวางขายที่ยิ่งยืดเวลา ก็ยิ่งเสียเปรียบคู่แข่ง แต่นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีอีก 3 ปัจจัยหลักด้านการพัฒนาโรงงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ดังนี้

หางานช่างเทคนิค ตำแหน่งที่เป็นที่ต้องการในโรงงาน
  • ความต้องการเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องพึ่งพาช่างซ่อมบำรุงหลายอัตรา เพื่อเข้ามาทำหน้าที่ดูแลและรักษา ให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ลดโอกาสเสี่ยงที่จะชำรุดและเสียหาย
  • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ส่งผลให้เครื่องจักรและอุปกรณ์มีความซับซ้อนทางเทคนิคการซ่อมบำรุงมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้หลาย ๆ ตำแหน่งงานช่างเริ่มที่จะมองหาผู้ที่มีทักษะในการซ่อมบำรุง ดูแลงานเทคนิคเชิงลึก ด้านอิเล็กทรอนิกส์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามา เพื่อช่วยดูแลได้อย่างครอบคลุม
  • การขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้และทักษะด้านช่าง อีกหนึ่งปัจจัยที่ยังคงทำให้ตำแหน่งงานช่างซ่อมบำรุงกลายเป็นที่ต้องการ เพราะในปัจจุบันหลาย ๆ โรงงานก็ยังขาดแคลนช่างซ่อมบำรุงที่มีทักษะเท่าทันกับความทันสมัยของเครื่องจักร ตำแหน่งนี้จึงยังเป็นที่ต้องการของโรงงานอยู่เสมอ

             แนวทางการประกอบอาชีพด้านช่าง

             สำหรับผู้ที่สนใจประกอบอาชีพด้านช่าง สามารถศึกษาต่อได้ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยต้องศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น สาขาวิชาช่างกลโรงงาน สาขาวิชาช่างยนต์ สาขาวิชาไฟฟ้า สาขาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น หรือศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในคณะวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ เช่น สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

             หางานช่าง สมัครตำแหน่งช่างเทคนิคในบริษัทที่มั่นคงได้แล้ววันนี้ เพียงเข้าใช้บริการเว็บไซต์ของ JOBTOPGUN แพลตฟอร์มหางานสำหรับเด็กจบใหม่และผู้มากประสบการณ์ที่ครอบคลุมทุกบริษัทชั้นนำในไทย พร้อมอัปเดตตำแหน่งใหม่ สร้างโอกาสได้ทุกวัน นอกจากนี้ยังมี Super Resume ที่ให้คุณสร้าง Resume อย่างมืออาชีพอีกด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ได้ที่เบอร์ 02-853-6999 หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน JOBTOPGUN ได้ฟรีทั้งระบบ iOS และ Android

สมัครงานกับบริษัทชั้นนำทันที สร้าง Super Resume (ใบสมัครงาน) เลย ฟรี!

คำค้นหายอดนิยม

..