Pain Point คืออะไร ? รู้ก่อนสาย พร้อมแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด !

             เมื่อพูดถึงการทำธุรกิจ การเผชิญปัญหาถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากภายนอกหรือภายในองค์กรเองก็ตาม ซึ่งปัญหาเหล่านี้เราเรียกว่า “Pain Point” ที่ธุรกิจต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาที่ต้นตอได้อย่างตรงจุด อันจะนำไปสู่การตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ดียิ่งขึ้นได้

             บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจให้มากขึ้นว่า Pain Point คืออะไร มีกี่ประเภท และเราจะหา Pain Point เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาธุรกิจได้อย่างไรบ้าง

Pain Point คืออะไร ? ปัญหาที่ธุรกิจไม่ควรปล่อยให้บานปลาย !

นักการตลาดเจอ Pain Point ของธุรกิจ

Pain Point คืออะไร ?

             Pain Point คือ อุปสรรค ปัญหา หรือข้อจำกัดที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสร้างความยุ่งยาก ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการดำเนินการ หรือสร้างความเสียหายต่อธุรกิจ ทำให้ Pain Point คือสิ่งที่ต้องมีการแก้ไขและหาทางออกโดยเร็วที่สุด

             ทั้งนี้ Pain Point ที่สำคัญของธุรกิจอาจรวมถึง

  • การแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรม
  • การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะและประสบการณ์
  • ต้นทุนการดำเนินงานที่สูง เช่น ค่าแรง ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ฯลฯ
  • กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่เข้มงวดจนเกินไป
  • การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี
  • ปัญหาด้านโลจิสติกส์และการจัดส่งสินค้า
  • การขาดเงินทุนหรือสภาพคล่องทางการเงิน
  • ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก)

Paint Point มีกี่ประเภท ?

             Pain Point สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

             1. Functional Pain Points

             เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานจริงของสินค้า หรือบริการ เช่น ผลิตภัณฑ์ใช้งานยาก ซับซ้อน ไม่ตรงตามความต้องการ ขาดฟีเจอร์สำคัญ หรือแบรนด์ให้บริการล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ และคุณภาพไม่ดีพอ

             2. Emotional Pain Points

             ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก และประสบการณ์ของลูกค้า เช่น ความกังวลเรื่องความปลอดภัย ความไม่มั่นใจในการใช้บริการ ความรู้สึกผิดหวังจากการบริการที่ไม่ดี หรือสินค้าคุณภาพต่ำกว่าที่คาดหวัง ตลอดจนความไม่พึงพอใจเนื่องจากการสื่อสารหรือการรักษาความเป็นส่วนตัวที่ไม่ดีพอ

             3. Financial Pain Points

             เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย หรือต้นทุน เช่น การตั้งราคาสินค้าหรือบริการแพงกว่าที่ควร ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน หรือการมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมสูงเกินไป ซึ่งต้นทุนการดำเนินงานเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อกำไรของธุรกิจ

             4. Process Pain Points

             ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนต่าง ๆ ในองค์กร ซึ่งอาจทำให้เสียเวลา ค่าใช้จ่าย หรือประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น ขั้นตอนซับซ้อน ระบบงานล้าสมัย ขาดการบูรณาการข้อมูล ฯลฯ

             5. Personnel Pain Points

             ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรในบริษัท ทั้งในแง่ของทักษะ ความเชี่ยวชาญ ความเป็นมืออาชีพ หรือการขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ ซึ่งจะช่วยสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าได้

ความสำคัญของการทำความเข้าใจ Pain Point คืออะไร ?

             ช่วยให้เข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง

             Pain Point คือสิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายผ่านการระบุปัญหา ความต้องการ และความคาดหวังที่แท้จริงของลูกค้า ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างประสบการณ์ที่ดี และเหนือความคาดหมายแก่กลุ่มคนเหล่านั้น รวมถึงสามารถสร้างความผูกพันและความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ได้ด้วย

             ช่วยให้สามารถพัฒนาสินค้าและบริการได้ดียิ่งขึ้น

             เมื่อเข้าใจ Pain Point แล้ว จะทำให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงและพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ ตลอดจนแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้อย่างตรงจุด เพิ่มคุณค่าและประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ อันจะนำมาซึ่งความประทับใจที่มีต่อแบรนด์มากขึ้น

             ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำธุรกิจ

             การระบุ Pain Point ภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการ ระบบงาน หรือบุคลากร จะทำให้ธุรกิจสามารถแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องของตนเองได้อย่างตรงจุด เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดต้นทุน ตลอดจนสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

             ช่วยเพิ่มยอดขายและรายได้

             เมื่อสามารถแก้ไข Pain Point ของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว นั่นหมายความว่าธุรกิจได้ตอบโจทย์และสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าสำเร็จ ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการของแบรนด์ และเพิ่มโอกาสในการทำยอดขายที่สูงขึ้น

การหา Pain Point คือหนึ่งในวิธีปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้น

วิธีการหา Pain Point

             วิเคราะห์ข้อมูล

             การวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ข้อมูลการสำรวจตลาด ข้อมูลการขาย ข้อร้องเรียนของลูกค้า บทวิจารณ์ออนไลน์ ข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ ฯลฯ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเห็นมุมมองที่เกี่ยวกับปัญหา หรือข้อบกพร่องของแบรนด์ที่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

             ทำแบบสอบถาม

             การสร้างแบบสอบถามที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแบรนด์ จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากลูกค้าโดยตรง ทั้งในแง่ของปัญหา ข้อเสนอแนะ และความต้องการที่แท้จริง สามารถทำได้ทั้งแบบออนไลน์และแบบสัมภาษณ์

             ทำ Social Listening เพื่อดูฟีดแบ็กของลูกค้า

             การเฝ้าติดตามสังเกตการณ์บนสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ จะทำให้รู้ถึงข้อคิดเห็น ความพึงพอใจ หรือข้อร้องเรียนที่ลูกค้ามีต่อสินค้าและบริการ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่นิยมมากในการระบุ Pain Point

             สังเกตพฤติกรรมลูกค้า

             การสังเกตพฤติกรรมการใช้สินค้าและบริการของลูกค้าจริง จะบ่งบอกถึงปัญหาหรือความยากลำบากที่เกิดขึ้นต่อลูกค้า ทำให้แบรนด์สามารถระบุจุดที่ต้องปรับปรุงเพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นได้

             ทำ Focus Group

             Focus Group คือการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เป็นการรวบรวมกลุ่มลูกค้าแล้วสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลโดยละเอียด ซึ่งจะทำให้ได้รับข้อเสนอแนะและมุมมองที่กว้างขวางกว่าการทำแบบสอบถาม หรือสังเกตการณ์ด้วยตนเองเพียงอย่างเดียว รวมถึงสามารถระบุ Pain Point ที่แท้จริงได้อย่างครอบคลุม

             จะเห็นได้ว่า การจัดการ Pain Point คือกระบวนการที่สำคัญมาก ซึ่งไม่ใช่แค่เจ้าของธุรกิจเท่านั้นที่ควรทำความเข้าใจในส่วนนี้ แต่คนที่ทำอาชีพพนักงานบริการก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ Pain Point เช่นเดียวกัน เพื่อที่จะสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าได้ ส่วนใครที่กำลังสนใจอยากสมัครงานเซลล์ขายของหรือพนักงานขาย สามารถค้นหาตำแหน่งว่างจากบริษัทชั้นนำทั่วไทยที่ใช่ ได้ที่เว็บไซต์ JOBTOPGUN มีอัปเดตตำแหน่งใหม่ทุกวัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ของเราได้ที่เบอร์ 02-853-6999 หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน JOBTOPGUN ได้ฟรีทั้งระบบ iOS และ Android

สมัครงานกับบริษัทชั้นนำทันที สร้าง Super Resume (ใบสมัครงาน) เลย ฟรี!

คำค้นหายอดนิยม

..