เจ้าหน้าที่ - เจ้าหน้าที่อาวุโส – ส่วนจัดสรรผลตอบแทน
Islamic Bank of Thailandหน้าที่รับผิดชอบ :
- บริหารจัดการผลตอบแทนที่ได้รับจากการฝากเงินในธนาคาร ตามหลักการในการคำนวณผลตอบแทนที่แตกต่างจากธนาคารทั่วไป (ตามสัดส่วนแบ่งผลตอบแทน)
- คำนวณอัตราผลตอบแทน โดยใช้รายได้จากสินเชื่อ และหักค่าใช้จ่ายและเงินนำส่งเข้ากองทุน แบ่งตามระยะเวลาในการฝาก และสัดส่วนของแต่ละผลิตภัณฑ์เงินรับฝาก และนำเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบและอนุมัติก่อนที่จะประกาศให้ลูกค้าทราบ
- กำหนดสัดส่วนเงินฝากที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
- จัดทำรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลตอบแทน เช่น รายงานผลการดำเนินงาน รายงานการนำส่งเงินเข้ากองทุน และรายงานสรุปยอดธุรกรรม เพื่อใช้ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
- ประสานงานกับฝ่ายบัญชี ฝ่าย IT ฝ่ายผลิตภัณฑ์ชะรีอะฮ์ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
คุณสมบัติ :
- คุณวุฒิ ปริญญาตรี สาขาการบัญชี การเงิน เศรษฐศาสตร์
- สามารถสื่อสารข้อมูลทางการเงินที่ซับซ้อนให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้
- ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การลงทุนต่างๆ (หุ้น, ตราสารหนี้, กองทุนรวม, ฯลฯ)
- มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง (เช่น Excel, Bloomberg, Financial Software)
- มีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะการแก้ปัญหา มีทักษะการเจรจาต่อรองที่ดี
- มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเงินอิสลามตามหลักชะรีอะฮ์
- Provident Fund
- ค่าช่วยเหลือบุตร
- Scholarship/ education allowance
- ค่ารักษาพยาบาลคู่สมรสและบุตร
- ค่าศึกษาบุตร
- 5-day work week
- Health insurance
- Accident Insurance
- สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน
- Employee's uniform
- Performance/results-based bonus
“ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย” จัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ธนาคารตระหนักเสมอว่าบริการตามแนวทางอิสลาม สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนทั่วไปได้โดยไม่จำกัดให้อยู่เพียงในระบบธนาคารกระแสหลัก ธนาคารจึงมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันสมัย และให้บริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ภายใต้หลักคุณธรรมที่ใส่ใจ ห่วงใยทุกกลุ่มสังคม เคร่งครัดในหลักศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลง และบริหารงานด้วยความโปร่งใส
ด้วยเหตุนี้ธนาคารอิสลาม จึงเป็นธนาคารที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ให้กับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา และในเดือนตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจุบันธนาคารมี 96 สาขา ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ