เจ้าหน้าที่/เจ้าหน้าที่อาวุโส งานกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Compliance)
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)การเงิน/การธนาคาร/หลักทรัพย์
เมื่อวานนี้
งานประจำ
0 - 5 ปี
กทม. (พญาไท)
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า
สามารถเจรจาต่อรองได้
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือโท ทางด้านกฎหมาย หรือที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการกำกับดูแลกิจการ และธรรมาภิบาล
- มีประสบการณ์ในการทำงานด้านการกำกับดูแลกิจการ (Compliance)
- มีความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายการลงทุน และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- มีความรู้เกี่ยวกับระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุและกองทุน เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นต้น
- หากมีประสบการณ์ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชน จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
- ศึกษากฎระเบียบ ข้อบังคับของ กอช. และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงติดตามความเคลื่อนไหว ของกฎระเบียบ ข้อบังคับใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กอช. อยู่เสมอ
- ให้คำแนะนำแก่ฝ่ายบริหาร เพื่อให้สามารถควบคุมการปฏิบัติงานของ กอช. ให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ
- กำกับการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานใน กอช. ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ กฎเกณฑ์ จรรยาบรรณ และแนวนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ประเมินและระบุถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องสำหรับกิจกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือประเภทการให้บริการใหม่ ๆ แก่สมาชิก
- มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และใส่ใจเรื่องมารยาททางสังคม
- มีความสามารถในการแก้ปัญหา การใช้เหตุผล และมีความคิดสร้างสรรค์
- สามารถทำงานเป็นทีม และทำงานกับผู้อื่นได้
- มีความละเอียด รอบคอบ และมีความรับผิดชอบ
- สามารถทำงานภายใต้ภาวะกดดันได้
- มีจิตสำนึกการให้บริการ
- ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ประกันชีวิต
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- มีเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น
- มีเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น
- ลาบวช
- สิทธิเบิกค่าทันตกรรม
- เงินช่วยเหลือฌาปนกิจ
- โบนัสตามผลงาน/ผลประกอบการ
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมาแล้วเกือบ 10 ปีก่อนหน้านี้ โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้มีการวางแผนการออมมาตั้งแต่ช่วงที่ยังอยู่ในวัยทำงาน ในขณะที่ระบบ บำนาญของประเทศเองยังมีความเหลื่อมล้ำและแยกกันอยู่ กล่าวคือ
ภาครัฐ => มี กบข. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีกองทุนสงเคราะห์ครู หรือประกันสังคมส่งเสริมการเก็บเงินสมทบลูกจ้างนายจ้าง
ภาคเอกชน => มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ภาคประชาชน => ต่างคนต่างออม ใครไม่มีหนี้ก็ออมเอง แต่ส่วนใหญ่ยังขาดการตระหนักรู้ถึง ความจำเป็นของการออมเพื่อการเกษียณของตนเอง
ซึ่งระบบบำนาญทั้ง 3 มิตินั้นก็แยกการควบคุมจัดการไปแต่ละส่วน ขาดการบริหารและมองภาพรวม และต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2554 การปฏิบัติตามกฎหมายก็ถูกละเลยและ ‘ชะลอ’ การดำเนินงานไว้ ประชาชนกว่า 25 ล้านคนซึ่งอยู่ในเงื่อนไขของผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกกองทุนไม่สามารถใช้สิทธิของตนตามกฎหมาย จนเวลาล่วงเลยมาถึงปี พ.ศ. 2557 ที่รัฐบาลได้ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายจนกองทุนการออมแห่งชาติสามารถเปิดรับสมัครสมาชิกได้ ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558
กล่าวได้ว่า เป็นครั้งแรกที่ระบบบำนาญของประเทศไทยมีกรอบการดำเนินงานครบถ้วนรองรับประชาชนทุกภาคส่วน สามารถลดความเหลื่อมล้ำของสังคมในมิติด้านการออมเพื่อการเกษียณได้ หากมีการออมต่อเนื่องยาวนาน ก็จะสามารถมีความมั่นใจได้ว่าประชาชนของประเทศจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในวัยชรา
ตำแหน่งงานอื่น ๆ ที่น่าสนใจ