Risk Modeling ( TFRS 9 )
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย- นำเครื่องมือทางคณิตศาสตร์และสถิติมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแบบจำลอง (Model Development) เพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อรายย่อย การประเมินคุณภาพสินเชื่อเพื่อประโยชน์ในการจัดชั้นลูกหนี้ และการกันเงินสำรอง
- นำแบบจำลองมาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสินเชื่อ เช่น ระบบการอนุมัติสินเชื่อ การจัดชั้นหนี้ การพิจารณาและบริหารความเสี่ยงตามปัจจัยเสี่ยง (Risk Base Indicatior)
- ติดตาม/ประเมินผลการใช้แบบจำลอง (Monitoring and Tracking) ทั้งด้านความมีเสถียรภาพ และความมีประสิทธิภาพ (Front-end and end Reports)
- ประเมิน/ทบทวนประสิทธิภาพ Score Recalibration เป็นระยะหรือพัฒนาแบบจำลองใหม่ หากเกินระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามทีได้รับมอบหมาย
- คุณสมบัติทั่วไปตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518
- คุณวุฒิปริญญาตรี/โท สาขาเศรษฐศาสตร์,คณิตศาสตร์,สถิติ,สถิติประยุกต์,การเงินการธนาคาร,ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร,ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- ต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารความเสี่ยงสินเชื่อ นโยบายการบริหารและการวิเคราะห์ความเสี่ยงสินเชื่อรายย่อย
- มีประสบการณ์ พัฒนาแบบจำลอง (Model) สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อรายย่อย หรือ TFRS9 ธุรกิจธนาคารหรือสถาบันการเงิน 3-5 ปี (ตำแหน่ง ผู้จัดการบริหารส่วน ประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 8 ปี และบริหารงานไม่น้อยกว่า 2 ปี / ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้จัดการ ประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 6 ปี)
- ต้องมีความรู้และประสบการณ์ด้านสถิติ,การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การบริหารจัดการฐานข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การบริหารข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS)
- มีทักษะการใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล (SAS is Advantage) หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
- มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ MS Office ได้เป็นอย่างดี
- มีทัศนคติและมนุษย์สัมพันธ์ดี สื่อสารและประสานกับผู้อื่นได้ดี
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ค่าช่วยเหลือบุตร
- ค่าทุนการศึกษา
- ค่ารักษาพยาบาลคู่สมรสและบุตร
- ค่าศึกษาบุตร
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน
- เครื่องแบบพนักงาน, ชุดยูนิฟอร์ม
- โบนัสตามผลงาน/ผลประกอบการ
“ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย” จัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ธนาคารตระหนักเสมอว่าบริการตามแนวทางอิสลาม สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนทั่วไปได้โดยไม่จำกัดให้อยู่เพียงในระบบธนาคารกระแสหลัก ธนาคารจึงมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันสมัย และให้บริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ภายใต้หลักคุณธรรมที่ใส่ใจ ห่วงใยทุกกลุ่มสังคม เคร่งครัดในหลักศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลง และบริหารงานด้วยความโปร่งใส
ด้วยเหตุนี้ธนาคารอิสลาม จึงเป็นธนาคารที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ให้กับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา และในเดือนตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจุบันธนาคารมี 96 สาขา ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ