ผู้จัดการบริหารส่วน – ส่วนพัฒนากระบวนการทางธุรกิจ
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยการเงิน/การธนาคาร/หลักทรัพย์
วันนี้
งานประจำ
3 - 5 ปี
กรุงเทพมหานคร
ปริญญาตรี
สามารถเจรจาต่อรองได้
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
วิเคราะห์และออกแบบกระบวนการทำงานปัจจุบันของธนาคาร วิเคราะห์หาจุดบกพร่องและขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน ออกแบบกระบวนการใหม่ที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
พัฒนาปรับปรุงกระบวนการ นำเสนอแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการทำงานต่างๆ เช่น การลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น การใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้าภายในและภายนอก
วางแผนและดำเนินการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานใหม่ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อพนักงานและลูกค้า สร้างความเข้าใจและให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลง
ประเมินผลและติดตามผลการดำเนินงานของกระบวนการใหม่ วิเคราะห์ประสิทธิภาพ และปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
คุณสมบัติที่จำเป็น
- ปริญญาตรี สาขาการเงินการธนาคาร บัญชี เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมอุตสาหการ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- มีประสบการณ์การพัฒนากระบวนการธุรกิจ การปรับปรุงประสิทธิภาพองค์กร การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Lean Process Improvement) ธุรกิจธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน อย่างน้อย 3 ปี
- มีความรู้ด้านการวิเคราะห์ ปรับปรุงออกแบบและพัฒนา Work Flow และกระบวนการทำงานอย่างมีระบบต่อเนื่องทั้งระดับองค์กร ระดับสายงาน ระดับฝ่าย ระดับส่วน และระดับตำแหน่ง
- สามารถจัดทำคู่มือ, ปรับปรุงและกำหนดมาตรฐาน Work Flows & Work Instructions
- มีทักษะในการสือสาร สามารถสื่อสารความคิดเห็นและแนวคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างชัดเจน
- มีทักษะการใช้เทคโดนโลยีจิทัล (Digital Literacy)
- มีทักษะในการใช้โปรแกรม Microsoft Office : Access, Word, Excel และ Power point ในระดับดี
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ค่าช่วยเหลือบุตร
- ค่าทุนการศึกษา
- ค่ารักษาพยาบาลคู่สมรสและบุตร
- ค่าศึกษาบุตร
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน
- เครื่องแบบพนักงาน, ชุดยูนิฟอร์ม
- โบนัสตามผลงาน/ผลประกอบการ
รีวิวบริษัทที่บอก ‘ชีวิตดี งานดี เงินดี สังคมดี’
4.5
Dream Companyยอดเยี่ยม
ชีวิตดี4.1
งานดี4
เงินดี2.6
สังคมดี 4.4
ไอแบงก์ มุ่งมั่นพัฒนาองค์กร ยึดหลักจริยธรรมอิสลามและธรรมาภิบาล ตลอดจนสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่เป็นเลิศสำหรับลูกค้าทุกศาสนา ทำให้ได้รับรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ เพื่อตอกย้ำความสำเร็จในความพร้อมสู่ความเป็นธนาคารอิสลามที่ได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจของประชาชนมุสลิมและเป็นธนาคารทางเลือกที่ดีของลูกค้าทั่วไป ตลอดจนการสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการเสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ดู HR SAY ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ฟังเสียงจากพนักงาน
เลขานุการ>1 ปี, อดีตพนักงาน
4.5
ชีวิตดี5
งานดี5
เงินดี5
สังคมดี 5
งานดี สังคมดี มีความสุข
19/09/2024
อ่านรีวิวทั้งหมดของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
จากจุดเริ่มต้นสู่การเติบโตอย่างมั่นคง...
“ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย” จัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ธนาคารตระหนักเสมอว่าบริการตามแนวทางอิสลาม สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนทั่วไปได้โดยไม่จำกัดให้อยู่เพียงในระบบธนาคารกระแสหลัก ธนาคารจึงมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันสมัย และให้บริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ภายใต้หลักคุณธรรมที่ใส่ใจ ห่วงใยทุกกลุ่มสังคม เคร่งครัดในหลักศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลง และบริหารงานด้วยความโปร่งใส
ด้วยเหตุนี้ธนาคารอิสลาม จึงเป็นธนาคารที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ให้กับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา และในเดือนตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจุบันธนาคารมี 96 สาขา ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
“ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย” จัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ธนาคารตระหนักเสมอว่าบริการตามแนวทางอิสลาม สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนทั่วไปได้โดยไม่จำกัดให้อยู่เพียงในระบบธนาคารกระแสหลัก ธนาคารจึงมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันสมัย และให้บริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ภายใต้หลักคุณธรรมที่ใส่ใจ ห่วงใยทุกกลุ่มสังคม เคร่งครัดในหลักศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลง และบริหารงานด้วยความโปร่งใส
ด้วยเหตุนี้ธนาคารอิสลาม จึงเป็นธนาคารที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ให้กับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา และในเดือนตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจุบันธนาคารมี 96 สาขา ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ