หัวหน้าฝ่ายจัดการลงทุน
National Savings FundToday
Full Time
5 - 15 Year
Bangkok and its Vicinity
Bachelor's Degree or Higher
Negotiable
1. บริหารพอร์ตกองทุนให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุน และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
2. จัดทำแผนการจัดสรรการลงทุนระยะสั้นและระยะกลาง (Strategic & Tactical Assest Allowcation)
3. วิเคราะห์และจัดทำเครื่องมือเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) และแบบจำลองต่างๆ สำหรับประกอบการตัดสินใจลงทุน
4. ทำงานร่วมกับฝ่ายวิเคราะห์การลงทุนและฝ่ายบริหารความเสี่ยงในการวิเคราะห์การลงทุน ตลอดจนกำหนดค่าความเสี่ยงและเครื่องมือในการวัดความเสี่ยง
5. จัดทำและตรวจสอบรายงานสรุปผลการลงทุนของกองทุนเสนอต่อคณะอนุกรรมการการลงทุน
6. จัดทำรายงานประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนและรายงานต่อผู้บังคับบัญชา
7. ศึกษาโอกาสการลงทุนใหม่ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
8. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๑. มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบเท่าได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการเงิน บัญชี เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ
๒. หากมีประสบการณ์ทำงานด้านการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่า 5 ปี จะพิจารณาเป็นพิเศษ
3. ผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เช่น CFA, CISA, FRM, CMT หรือ CAIA
4. มีทักษะการสื่อสาร การประสานงาน การโน้มน้าว และการบริหารทีมงาน
5. มีความละเอียด รอบคอบ และมีความรับผิดชอบ
6. มีทักษะการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ
7. สามารถทำงานภายใต้ภาวะกดดันได้
8. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
- Provident Fund
- Staff training and development
- 5-day work week
- ประกันชีวิต
- Health insurance
- Accident Insurance
- มีเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น
- Flexible working hours
- Ordination leave
- สิทธิเบิกค่าทันตกรรม
- Performance/results-based bonus
National Savings Fund
ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมาแล้วเกือบ 10 ปีก่อนหน้านี้ โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้มีการวางแผนการออมมาตั้งแต่ช่วงที่ยังอยู่ในวัยทำงาน ในขณะที่ระบบ บำนาญของประเทศเองยังมีความเหลื่อมล้ำและแยกกันอยู่ กล่าวคือ
ภาครัฐ => มี กบข. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีกองทุนสงเคราะห์ครู หรือประกันสังคมส่งเสริมการเก็บเงินสมทบลูกจ้างนายจ้าง
ภาคเอกชน => มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ภาคประชาชน => ต่างคนต่างออม ใครไม่มีหนี้ก็ออมเอง แต่ส่วนใหญ่ยังขาดการตระหนักรู้ถึง ความจำเป็นของการออมเพื่อการเกษียณของตนเอง
ซึ่งระบบบำนาญทั้ง 3 มิตินั้นก็แยกการควบคุมจัดการไปแต่ละส่วน ขาดการบริหารและมองภาพรวม และต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2554 การปฏิบัติตามกฎหมายก็ถูกละเลยและ ‘ชะลอ’ การดำเนินงานไว้ ประชาชนกว่า 25 ล้านคนซึ่งอยู่ในเงื่อนไขของผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกกองทุนไม่สามารถใช้สิทธิของตนตามกฎหมาย จนเวลาล่วงเลยมาถึงปี พ.ศ. 2557 ที่รัฐบาลได้ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายจนกองทุนการออมแห่งชาติสามารถเปิดรับสมัครสมาชิกได้ ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558
กล่าวได้ว่า เป็นครั้งแรกที่ระบบบำนาญของประเทศไทยมีกรอบการดำเนินงานครบถ้วนรองรับประชาชนทุกภาคส่วน สามารถลดความเหลื่อมล้ำของสังคมในมิติด้านการออมเพื่อการเกษียณได้ หากมีการออมต่อเนื่องยาวนาน ก็จะสามารถมีความมั่นใจได้ว่าประชาชนของประเทศจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในวัยชรา
Other interesting jobs