หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
National Savings Fund19/11/2024
Full Time
10 - 15 Year
Bangkok and its Vicinity
Bachelor's Degree
Negotiable
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
- มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 10 ปี
- เคยเป็นผู้บริหารระดับกลางในองค์กรอื่น
- มีความเข้าใจ หรือเชี่ยวชาญทางเทคนิคเพื่อการนำไปใช้ในเทคโนโลยีที่จำเป็นขององค์กร อาทิเช่น Network, Cloud Computing, IT Security, โซลูชั่นข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นต้น
- มีความสามารถในการ Coding
- พัฒนากลยุทธ์ขององค์กรในการใช้ทรัพยากรทางเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร
- จัดการและวางแผนงบประมาณและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านเทคนิคให้กับองค์กร
- ดูแลโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การดูแลให้แนวทางปฏิบัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมดเป็นไปตามมาตราฐานการกำกับดูแล
- สามารถบริหารจัดการระบบงาน ระบบเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง ปลอดภัย เป็นไปตามกฎหมาย/มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหา ให้คำปรึกษา แนะนำ วางแผน กำกับดูแล และบริหารงานของฝ่ายให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
- มีความความรู้ในด้านการจัดทำแผนปฏิบัติงาน งบประมาณและการบริหารโครงการด้านสารสนเทศ
- มีวิสัยทัศน์ ทัศนคติ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการการทำงานเป็นทีม
- มีทักษะการสื่อสาร การประสานงาน การวางแผน ติดตามการดำเนินการ การจัดทำรายงานและการบริหารทีมงาน
- ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
- Provident Fund
- Staff training and development
- 5-day work week
- ประกันชีวิต
- Health insurance
- Accident Insurance
- มีเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น
- Flexible working hours
- Ordination leave
- สิทธิเบิกค่าทันตกรรม
- Funeral payment support
- Performance/results-based bonus
National Savings Fund
ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมาแล้วเกือบ 10 ปีก่อนหน้านี้ โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้มีการวางแผนการออมมาตั้งแต่ช่วงที่ยังอยู่ในวัยทำงาน ในขณะที่ระบบ บำนาญของประเทศเองยังมีความเหลื่อมล้ำและแยกกันอยู่ กล่าวคือ
ภาครัฐ => มี กบข. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีกองทุนสงเคราะห์ครู หรือประกันสังคมส่งเสริมการเก็บเงินสมทบลูกจ้างนายจ้าง
ภาคเอกชน => มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ภาคประชาชน => ต่างคนต่างออม ใครไม่มีหนี้ก็ออมเอง แต่ส่วนใหญ่ยังขาดการตระหนักรู้ถึง ความจำเป็นของการออมเพื่อการเกษียณของตนเอง
ซึ่งระบบบำนาญทั้ง 3 มิตินั้นก็แยกการควบคุมจัดการไปแต่ละส่วน ขาดการบริหารและมองภาพรวม และต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2554 การปฏิบัติตามกฎหมายก็ถูกละเลยและ ‘ชะลอ’ การดำเนินงานไว้ ประชาชนกว่า 25 ล้านคนซึ่งอยู่ในเงื่อนไขของผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกกองทุนไม่สามารถใช้สิทธิของตนตามกฎหมาย จนเวลาล่วงเลยมาถึงปี พ.ศ. 2557 ที่รัฐบาลได้ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายจนกองทุนการออมแห่งชาติสามารถเปิดรับสมัครสมาชิกได้ ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558
กล่าวได้ว่า เป็นครั้งแรกที่ระบบบำนาญของประเทศไทยมีกรอบการดำเนินงานครบถ้วนรองรับประชาชนทุกภาคส่วน สามารถลดความเหลื่อมล้ำของสังคมในมิติด้านการออมเพื่อการเกษียณได้ หากมีการออมต่อเนื่องยาวนาน ก็จะสามารถมีความมั่นใจได้ว่าประชาชนของประเทศจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในวัยชรา
Other interesting jobs