เจ้าหน้าที่ - ผู้จัดการบริหารส่วน – ส่วนพัฒนาความยั่งยืน
Islamic Bank of Thailandหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ ด้านความยั่งยืนขององค์กรให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจและแนวโน้มระดับโลก
วางแผน ดำเนินงาน และประเมินผลโครงการด้านความยั่งยืนต่างๆ เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดการขยะ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ
รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
สื่อสารนโยบายและกิจกรรมด้านความยั่งยืนไปยังพนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมการมีส่วนร่วม
สร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาสังคม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมมือในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน
คุณสมบัติที่จำเป็น
- ปริญญาตรีขึ้นไป สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บริหารธุรกิจ การจัดการด้านความยั่งยืน หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาความยั่งยืน (Sustainability Development) และการจัดทำรายงานความยั่งยืน (SD Report) อย่างน้อย 3 ปี
- ความรู้ความเข้าใจ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและแนวคิดด้านความยั่งยืน รวมถึงกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
- มีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลและสถานการณ์ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผน การตัดสินใจ และสรุปผลการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนได้
- มีทักษะการจัดการโครงการ สามารถวางแผน ดำเนินงาน และติดตามผลโครงการได้ตามเป้าหมาย
- มีภาวะผู้นำสามารถขับเคลื่อนโครงการและทีมงานให้บรรลุเป้าหมาย และสามารถทำงานร่วมกับบุคคลในหลากหลายฝ่ายและระดับ
- Provident Fund
- ค่าช่วยเหลือบุตร
- Scholarship/ education allowance
- ค่ารักษาพยาบาลคู่สมรสและบุตร
- ค่าศึกษาบุตร
- 5-day work week
- Health insurance
- Accident Insurance
- สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน
- Employee's uniform
- Performance/results-based bonus
“ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย” จัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ธนาคารตระหนักเสมอว่าบริการตามแนวทางอิสลาม สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนทั่วไปได้โดยไม่จำกัดให้อยู่เพียงในระบบธนาคารกระแสหลัก ธนาคารจึงมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันสมัย และให้บริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ภายใต้หลักคุณธรรมที่ใส่ใจ ห่วงใยทุกกลุ่มสังคม เคร่งครัดในหลักศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลง และบริหารงานด้วยความโปร่งใส
ด้วยเหตุนี้ธนาคารอิสลาม จึงเป็นธนาคารที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ให้กับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา และในเดือนตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจุบันธนาคารมี 96 สาขา ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ