เจ้าหน้าที่ - ผู้ช่วยผู้จัดการส่วน – ส่วนบริหารการลงทุน
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหน้าที่รับผิดชอบ :
- บริหารการลงทุนในหน่วยลงทุน หรือหุ้น เลือกลงทุนที่สอดคล้องกับนโยบายของธนาคาร เช่น กองทุนที่ถูกต้องตามหลักศาสนา
- ติดตามผลการดำเนินงานของพอร์ตลงทุนอย่างต่อเนื่อง และทำการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หากจำเป็น
- วางแผนเพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาเงินฝากรายใหญ่ และวางแผนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องของธนาคาร (LCR)
- ทำรายงาน ประมาณการกระแสเงินสด: ประเมินปริมาณเงินสดที่เข้าและออกของธนาคารในอนาคต
- รายงานสถานะสภาพคล่องของธนาคารให้ผู้บริหารและคณะกรรมการธนาคาร
- รายงานผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยให้ผู้บริหารและคณะกรรมการธนาคาร
- ประสานงานหน่วยงานภายในและจัดประชุม เช่น ฝ่ายธนบดีธนกิจ, ฝ่ายกิจการสาขา, ฝ่ายผลิตภัณฑ์ชะรีอะฮ์ เพื่อร่วมกันบริหารจัดการสภาพคล่อง พร้อมสรุปนำเสนอผู้บริหารและคณะกรรมการธนาคาร
- ประสานงานกับหน่วยงานภายใน เพื่อจัดประชุมคณะอนุกรรมการบริหารทรัพยสินและหนี้สินของธนาคาร
- ประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เช่น บริษัทย่อยของธนาคาร, ผู้ให้บริการด้านการลงทุน
คุณสมบัติ :
- คุณวุฒิ ปริญญาตรี สาขาการบัญชี การเงิน เศรษฐศาสตร์
- มีประสบการณ์ทำงานด้านการลงทุนหรือการเงินอย่างน้อย 0 - 1 ปี
- ความรู้ความเข้าใจในหลักการทางการเงิน การลงทุน ตลาดทุน และเครื่องมือทางการเงินต่างๆ
- สามารถสื่อสารข้อมูลทางการเงินที่ซับซ้อนให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
- ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การลงทุนต่างๆ (หุ้น, ตราสารหนี้, กองทุนรวม, ฯลฯ)
- มีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร
- มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง (เช่น Excel, Bloomberg, Financial Software)
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ค่าช่วยเหลือบุตร
- ค่าทุนการศึกษา
- ค่ารักษาพยาบาลคู่สมรสและบุตร
- ค่าศึกษาบุตร
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน
- เครื่องแบบพนักงาน, ชุดยูนิฟอร์ม
- โบนัสตามผลงาน/ผลประกอบการ
“ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย” จัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ธนาคารตระหนักเสมอว่าบริการตามแนวทางอิสลาม สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนทั่วไปได้โดยไม่จำกัดให้อยู่เพียงในระบบธนาคารกระแสหลัก ธนาคารจึงมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันสมัย และให้บริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ภายใต้หลักคุณธรรมที่ใส่ใจ ห่วงใยทุกกลุ่มสังคม เคร่งครัดในหลักศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลง และบริหารงานด้วยความโปร่งใส
ด้วยเหตุนี้ธนาคารอิสลาม จึงเป็นธนาคารที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ให้กับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา และในเดือนตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจุบันธนาคารมี 96 สาขา ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ