เจ้า่หน้าที่อาวุโส - ผู้ช่วยผู้จัดการ ส่วนกำกับกฎเกณฑ์ทางการ
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ
- ศึกษา ติดตามและเผยแพร่กฎเกณฑ์ทางการที่ออกใหม่ หรือที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำเสนอผู้บริหารและหน่วยงานเพื่อเป็นแนวปฎิบัติ และเป็นศูนย์กลางรวบวมกฎเกณฑ์หรือกฎหมายเกี่ยวข้องที่บงัคับใช้กับธนาคารโดยตรง และ โดยอ้อม
- ให้คำปรึกษา พิจารณา ให้ความเห็นกับหน่วยงานภายในธนาคารเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางการ
- การทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ธปท. และหน่วยงานทางการอื่น ๆ รวมทั้งการสรุปข้อสังเกตจาก ธปต. เพื่อนำเสนอผู้บริหาร และหน่วยงานที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามเวลาที่กำหนด
- กำกับกฎเกณฑ์ และรายงานตามเกณฑ์ FATCA ( Foreign Account Tax Compliance Act )
- จัดกิจกรรม จัดทำบทความ เพื่อเสริมสร้างให้ทุกหน่วยงานภายในธนาคารตระหนักถึงการปฎิบัติตามกฎเกณฑ์ทางการ เผยแพร่ผ่านช่องทาง Intranet ของธนาคาร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น แก่ผู้บริหารและพนักงาน
- ติดตามเพื่อทบทวนและเข้าร่วมประสานงานกับหน่วยงานทางการ และหน่วยงานภายในธนาคารเพื่อมีสวนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นเพื่อพัฒนากฎเกณฑ์ให้เป็นปัจจุบันอย่างครบถ้วน
- เป็นส่วนงานที่สนับสนุนข้อมูลแก่ส่วนงานระเบียบธนาคารและส่วนกำกับการปฎิบัติตามกฎเกณฑ์ โดยศึกษาค้นคว้าหรือประสานงานข้อมูลจากหน่วยงานภายนอกเพื่อใช้อ้างอิง
- จัดทำแผนงบประมาณปประจำปีของส่วนงานและบริหารการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนติดตามการเบิกใช้ให้อยู่ภายในงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ
- ปฎิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติ
- มีประสบการณ์ในการทำงานด้าน Compliance
- มีประสบการณ์ทางด้านบริหารและการพัฒนาทีมงาน
- สามารถใช้ Ms.Office
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ค่าช่วยเหลือบุตร
- ค่าทุนการศึกษา
- ค่ารักษาพยาบาลคู่สมรสและบุตร
- ค่าศึกษาบุตร
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน
- เครื่องแบบพนักงาน, ชุดยูนิฟอร์ม
- โบนัสตามผลงาน/ผลประกอบการ
“ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย” จัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ธนาคารตระหนักเสมอว่าบริการตามแนวทางอิสลาม สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนทั่วไปได้โดยไม่จำกัดให้อยู่เพียงในระบบธนาคารกระแสหลัก ธนาคารจึงมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันสมัย และให้บริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ภายใต้หลักคุณธรรมที่ใส่ใจ ห่วงใยทุกกลุ่มสังคม เคร่งครัดในหลักศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลง และบริหารงานด้วยความโปร่งใส
ด้วยเหตุนี้ธนาคารอิสลาม จึงเป็นธนาคารที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ให้กับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา และในเดือนตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจุบันธนาคารมี 96 สาขา ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ