นักวิชาการ/เจ้าหน้าที่
สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ/อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ1. การสนับสนุนการวางแผนการตรวจประเมิน จัดทำและดูแลแผนการตรวจประเมินตามข้อกำหนดและเป้าหมายขององค์กร ใช้ระบบสารสนเทศ (ICT) ในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เพื่อกำหนดตารางการตรวจประเมิน และประสานงานกับทีมตรวจประเมิน (Auditors) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การวางแผนเป็นไปอย่างราบรื่น
2. จัดเตรียมและดูแลระบบ ICT ที่ใช้สนับสนุนกระบวนการตรวจประเมิน เช่น การจัดการฐานข้อมูล การตั้งค่าระบบ และการตรวจสอบข้อมูล
3. บริหารจัดการฐานข้อมูล (Database Management) เพื่อสนับสนุนการจัดเก็บ วิเคราะห์ และรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
4. ดูแลและปรับปรุงระบบให้มีความปลอดภัยสูงสุด (System Security) และบริหารจัดการการเข้าถึงระบบ (Access Control) และตรวจสอบกิจกรรมของผู้ใช้งานเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูล
5. จัดอบรม ให้คำแนะนำ และเตรียมเอกสารคู่มือการใช้งาน (User Manuals) แก่ทีมงานในองค์กร หรือสำหรับผู้ใช้งาน
6. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
1.ปริญญาตรีขึ้นไป สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2. มีประสบการณ์ในการดูแลระบบสารสนเทศ หรือการใช้ระบบICT สำหรับวางแผนหรือจัดการข้อมูลอย่างน้อย 1-3 ปี
3. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการตรวจสอบและรับรองหรือการใช้โปรแกรมจัดการข้อมูล เช่น ISO, HACCP, Excel, SQL หรือที่เกี่ยวข้อง
4. มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล แก้ไขปัญหา และจัดทำรายงาน
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน
- ค่าเบี้ยเลี้ยง
- ค่าโทรศัพท์
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ประกันชีวิต
- ประกันสังคม
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงอุตสาหกรรม
- เครื่องแบบพนักงาน, ชุดยูนิฟอร์ม
- เงินช่วยเหลือฌาปนกิจ
- เดินทางสะดวกโดยรถไฟฟ้า BTS
สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม (สรอ.) ก่อตั้งขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2541 สรอ. มีฐานะเป็นสถาบันอิสระภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อดำเนินงานด้านการให้บริการรับรองตามมาตรฐานไอเอสโอ และมาตรฐานระบบอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพของอุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถด้านการรับรองของประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐบาลในระหว่างปี 2542-2544 สรอ. มีระบบการบริหารงานแบบเอกชนในรูปของคณะกรรมการสถาบัน และคณะอนุกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชน โดยมีความมุ่งมั่นต่อความเป็นกลาง และไม่เลือกปฏิบัติ ในการให้บริการด้านการตรวจและการรับรอง ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการทำงานตามหลักเกณฑ์สากล ISO/IEC 17020:2012, ISO/IEC 17021-1:2015 และ ISO 50003:2014