เจ้าหน้าที่/ เจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายส่งเสริมการออม
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)การเงิน/การธนาคาร/หลักทรัพย์
วันนี้
งานประจำ
0 - 3 ปี
กรุงเทพและปริมณฑล
ปริญญาตรี
สามารถเจรจาต่อรองได้
๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี/โท สาขาการตลาด สาขานิเทศศาสตร์ สาขาวารสารศาสตร์สาขาบริหารธุรกิจ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๒. สื่อสารได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความสามารถทางภาษา มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ด้านการฟัง พูด อ่าน ได้
๓. มีทักษะในการใช้งาน Microsoft Office และมีความรู้เป็นอย่างดี
๔. มีทักษะในการนำเสนองาน
๕. วิเคราะห์ข้อมูลเป็น และนำมาใช้ประโยชน์ได้
๖. มีความรู้ด้านการจัดทำ TOR ด้านการจัดซื้อจัดจ้างตามกระบวนการพัสดุ
๗. มีความรู้ด้าน IT และเทคโนโลยีดิจิทัล
๘. สามารถปรับตัวและจัดลำดับความสำคัญ และวางแผนและการจัดการงานได้อย่างดี
๙. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และใส่ใจเรื่องมารยาททางสังคม
๑๐. มีความสามารถในการแก้ปัญหา การใช้เหตุผล และมีความคิดสร้างสรรค์
๑๑. สามารถทำงานเป็นทีม และทำงานกับผู้อื่นได้
๑๒. มีความละเอียด รอบคอบ และมีความรับผิดชอบ
๑๓. สามารถทำงานภายใต้ภาวะกดดันได้
๑๔. มีจิตสำนึกการให้บริการ
๑๕. เคยมีประสบการณ์ด้านการจัดกิจกรรมสื่อสารการตลาดไม่น้อยกว่า 0-3 ปี
๑๖. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน
- ค่าทุนการศึกษา
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ประกันชีวิต
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- มีเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น
- มีเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น
- ลาบวช
- สิทธิเบิกค่าทันตกรรม
- โบนัสตามผลงาน/ผลประกอบการ
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมาแล้วเกือบ 10 ปีก่อนหน้านี้ โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้มีการวางแผนการออมมาตั้งแต่ช่วงที่ยังอยู่ในวัยทำงาน ในขณะที่ระบบ บำนาญของประเทศเองยังมีความเหลื่อมล้ำและแยกกันอยู่ กล่าวคือ
ภาครัฐ => มี กบข. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีกองทุนสงเคราะห์ครู หรือประกันสังคมส่งเสริมการเก็บเงินสมทบลูกจ้างนายจ้าง
ภาคเอกชน => มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ภาคประชาชน => ต่างคนต่างออม ใครไม่มีหนี้ก็ออมเอง แต่ส่วนใหญ่ยังขาดการตระหนักรู้ถึง ความจำเป็นของการออมเพื่อการเกษียณของตนเอง
ซึ่งระบบบำนาญทั้ง 3 มิตินั้นก็แยกการควบคุมจัดการไปแต่ละส่วน ขาดการบริหารและมองภาพรวม และต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2554 การปฏิบัติตามกฎหมายก็ถูกละเลยและ ‘ชะลอ’ การดำเนินงานไว้ ประชาชนกว่า 25 ล้านคนซึ่งอยู่ในเงื่อนไขของผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกกองทุนไม่สามารถใช้สิทธิของตนตามกฎหมาย จนเวลาล่วงเลยมาถึงปี พ.ศ. 2557 ที่รัฐบาลได้ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายจนกองทุนการออมแห่งชาติสามารถเปิดรับสมัครสมาชิกได้ ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558
กล่าวได้ว่า เป็นครั้งแรกที่ระบบบำนาญของประเทศไทยมีกรอบการดำเนินงานครบถ้วนรองรับประชาชนทุกภาคส่วน สามารถลดความเหลื่อมล้ำของสังคมในมิติด้านการออมเพื่อการเกษียณได้ หากมีการออมต่อเนื่องยาวนาน ก็จะสามารถมีความมั่นใจได้ว่าประชาชนของประเทศจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในวัยชรา
ตำแหน่งงานอื่น ๆ ที่น่าสนใจ