1. ตรวจสอบ และเสนอแนะ ให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน
2. วิเคราะห์งานเพื่อบ่งชี้อันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันหรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
3. ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน
4. แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือความปลอดภัย
5. แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้าง เพื่อให้ปฏิบัติงานปลอดจากเหตุ อันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยจากการทำงาน
6. ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคลหรือหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรองหรือตรวจสอบเอกสารหลักฐานรายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในสถานประกอบกิจการ
7. เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
8. ตรวจสอบหาสาเหตุ และวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน และรายงานผลรวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
9. ควบคุมดูแลสารเคมีและวัตถุดิบทั้งหมดในสถานประกอบกิจการ ตรวจสอบหาสารเคมีและวัตถุดิบที่เป็นอันตราย รวมถึงกำหนดมาตรการป้องกันหรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีและวัตถุดิบที่เป็นอันตราย โดยตรวจสอบกับบัญชีรายชื่อสารเคมีทั้งหมดในสถานประกอบกิจการและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (SDS)
10. รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง
11. ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้างก่อยเข้าทำงานและระหว่างทำงานเพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
12. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง