เจ้าหน้าที่ - ผู้ช่วยผู้จัดการส่วน – ส่วนบริหารเงินและเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหน้าที่ความรับผิดชอบ :
ผู้ช่วยผู้จัดการส่วน
- ควบคุม กำกับ ดูแล งานด้านหนังสือให้ความยินยอม และการสืบค้นข้อมูลเครดิต
- ควบคุม กำกับ ดูแล งานรับส่งข้อมูลเครตดิตให้กับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
- ควบคุม กำกับ ดูแล งานส่งจดหมายแจ้งสถานะข้อมูลเครดิตให้ลูกค้าสินเชื่อ
- ควบคุม กำกับ ดูแล งานร้องเรียน/โต้แย้งข้อมูลเครดิต และการแก้ไขข้อมูลเครดิต
- กำหนดนโยบาย/พัฒนาขั้นตอน/วิธีปฏิบัติงานให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545, ประกาศที่เกี่ยวข้อง
เจ้าหน้าที่อาวุโส
- งานด้านหนังสือให้ความยินยอม และการสืบค้นข้อมูลเครดิต
- งานรับส่งข้อมูลเครตดิตให้กับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
- งานส่งจดหมายแจ้งสถานะข้อมูลเครดิตให้ลูกค้าสินเชื่อ
- งานร้องเรียน/โต้แย้งข้อมูลเครดิต และการแก้ไขข้อมูลเครดิต
คุณสมบัติ :
- ปริญญาตรี สาขาการเงิน, บัญชี, เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- มีใบอนุญาตห้องค้า (Certification Treasury Dealer)
- มีความรู้ทางด้าน FX รวมถึงอนุพันธ์ต่างๆ
- มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารสภาพคล่อง การบริหารเงิน หรือมีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ปี
- มีความรอบรู้ในธุรกิจธนาคาร และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับธนาคาร
- สามารถบริหารจัดการ วิเคราะห์ปัญหา และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
- ความรู้เกี่ยวกับตลาดเงิน ตลาดทุน ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการเงิน
- ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล / ทักษะการแก้ไขปัญหา / ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง (เช่น Excel, Financial Software)
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ค่าช่วยเหลือบุตร
- ค่าทุนการศึกษา
- ค่ารักษาพยาบาลคู่สมรสและบุตร
- ค่าศึกษาบุตร
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน
- เครื่องแบบพนักงาน, ชุดยูนิฟอร์ม
- โบนัสตามผลงาน/ผลประกอบการ
“ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย” จัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ธนาคารตระหนักเสมอว่าบริการตามแนวทางอิสลาม สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนทั่วไปได้โดยไม่จำกัดให้อยู่เพียงในระบบธนาคารกระแสหลัก ธนาคารจึงมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันสมัย และให้บริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ภายใต้หลักคุณธรรมที่ใส่ใจ ห่วงใยทุกกลุ่มสังคม เคร่งครัดในหลักศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลง และบริหารงานด้วยความโปร่งใส
ด้วยเหตุนี้ธนาคารอิสลาม จึงเป็นธนาคารที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ให้กับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา และในเดือนตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจุบันธนาคารมี 96 สาขา ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ