Relationship Manager SMEs
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยความรับผิดชอบ :
- สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า SMEs (สินเชื่อธุรกิจวงเงินไม่เกิน 200 ล้านบาท) แสวงหาขยายฐานสินเชื่อลูกค้ารายใหม่ และรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและต่อยอดลูกค้ารายเดิม
- วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน ความเสี่ยงของธุรกิจ SME ความเป็นไปได้ของธุรกิจเชิงคุณภาพและปริมาณเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
- ให้คำปรึกษาและแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า
- ตรวจสอบและควบคุมความถูกต้องความครบถ้วนของงานรวมทั้งเอกสารประกอบการพิจารณา
- บริหารกระบวนการสินเชื่อต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ เช่น การรวบรวมข้อมูล เอกสารจากลูกค้า การเบิกใช้ การชำระกำไร การต่ออายุแบะทบทวนวงเงินสินเชื่อรวมถึงการป้องกันการค้างชำระและตกชั้น NPF ให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์การติดตามและควบคุม
- จัดทำรายงานวิเคราะห์สินเชื่อเพื่อพิจารณาคำขอของลูกค้าเอกสารประกอบการพิจารณา รวมทั้งพิจารณาวงเงินและเงื่อนไขก่อนนำเสนอ
- ติดต่อประสานงานกับลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ และให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติ
- ปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ (การเงินและการธนาคาร การบัญชี) และเศรษฐศาสตร์
- มีประสบการณ์อย่างน้อย 3 - 5 ปี
- มีความรู้และความสามารถการจัดทำประมาณการ Cash flow งบการเงินวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอรายงานผลการวิเคราะห์งบการเงินได้
- มีทักษะในการใช้โปรแกรม Microsoft Office : Word, Excel และ Power point
- มีทักษะการสื่อสาร การประสานงาน การนำเสนอที่ดี การเจรจาต่อรอง และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
- มีความสามารถในการเจรจาต่อรอง มีบุคลิกดีสุภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความกระตือรือร้น
- หากมีประสบการณ์เกี่ยวกับลูกค้าสัมพันธ์ (RM) และวิเคราะห์สินเชื่อธุรกิจ (CA) จากธนาคาร จะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
- หากมีความรู้ด้านผลิตภัณฑ์ทางการเงินตามหลักชะรีอะฮ์ จะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ค่าช่วยเหลือบุตร
- ค่าทุนการศึกษา
- ค่ารักษาพยาบาลคู่สมรสและบุตร
- ค่าศึกษาบุตร
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน
- เครื่องแบบพนักงาน, ชุดยูนิฟอร์ม
- โบนัสตามผลงาน/ผลประกอบการ
“ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย” จัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ธนาคารตระหนักเสมอว่าบริการตามแนวทางอิสลาม สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนทั่วไปได้โดยไม่จำกัดให้อยู่เพียงในระบบธนาคารกระแสหลัก ธนาคารจึงมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันสมัย และให้บริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ภายใต้หลักคุณธรรมที่ใส่ใจ ห่วงใยทุกกลุ่มสังคม เคร่งครัดในหลักศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลง และบริหารงานด้วยความโปร่งใส
ด้วยเหตุนี้ธนาคารอิสลาม จึงเป็นธนาคารที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ให้กับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา และในเดือนตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจุบันธนาคารมี 96 สาขา ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ