เจ้าหน้าที่ - ผู้จัดการบริหารส่วน ส่วนติดตามและประเมินผลเชิงกลยุทธ์
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยการเงิน/การธนาคาร/หลักทรัพย์
วันนี้
งานประจำ
1 - 5 ปี
กรุงเทพมหานคร
ปริญญาตรี
สามารถเจรจาต่อรองได้
ปฏิบัติงานที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ และวิจารณญาณในการตัดสินใจในระดับเบื้องต้นที่ไม่มีความซับซ้อน
และที่มีความซับซ้อนมากตามตำแหน่งหน้าที่ ในด้านการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ เสนอแนวนโยบาย เป้าหมาย
และแผนการดำเนินงานของธนาคารทั้งใน ระยะสั้น และระยะยาว การกำหนดร่างตัวชี้วัดของธนาคาร
และการมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลและนำส่งข้อมูล Core Business Enablers (CBE) ด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Planning : SP)
ประยุกต์การปฏิบัติงาน หรือวิธีการทำงาน เบื้องต้นที่ไม่มีความซับซ้อน โดยอาศัยการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพ และอาศัยประสบการณ์
ความเชี่ยวชาญในกระบวนการทำงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
• ด้านการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ Portfolio และ Revenue Mix ของธนาคาร
• ด้านการบริหารฐานข้อมูล (Data Management) ในส่วนของการบริหารคุณภาพของข้อมูลของส่วน
• ด้านการพัฒนาองค์กร ในส่วนของการสนับสนุนการพัฒนาวัฒนธรรมขององค์กร และการสนับสนุนการปรับปรุงระเบียบ กฏเกณฑ์ คู่มือ
และข้อกำหนดต่างๆ ของธนาคาร
• ด้านการบริหารจัดการการประชุมและติดตามงานตามมติการประชุม ในส่วนของการสนับสนุนการบริหารจัดการการประชุมและติดตามงานของคณะกรรมการธนาคาร จัดทำรายงานที่ได้รับมอบหมายจากข้อมูลหรือสถิติที่มีอยู่ รวมทั้งทำการวิเคราะห์เบื้องต้น
• รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน โดยทำตามวิธีการ กระบวนการ มาตรฐานที่ชัดเจน เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายตามที่ได้รับมอบหมาย
• จัดทำรายงานที่ได้รับมอบหมายจากข้อมูลหรือสถิติที่มีอยู่ รวมทั้งทำการวิเคราะห์เบื้องต้น
• รายงานผลการปฏิบัติงานของตนตามแผนเป็นระยะๆ และรายงานผลกระทบและอุปสรรคด้านต่างๆ ต่อผู้บังคับบัญชา
สนับสนุนองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำเนินการระดับส่วน เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือรายงานที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านแนวนโยบาย เป้าหมาย และแผนการดำเนินงานของธนาคารเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
- วุฒิปริญญาตรี/โท ด้านบริหารธุรกิจ สาขาการบริหารจัดการองค์กร, สาขาการพัฒนาองค์การและการจัดการการเปลี่ยนแปลง, สาขาการพัฒนาองค์การและการจัดการ, สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ หรือ สาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- มีประสบการณ์ทำงานด้านการบริหารจัดการงานพัฒนาองค์กร หรืองานทรัพยากรบุคคล อย่างน้อย 10 ปี
- มีความรู้ความเข้าใจในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ เพื่อการพัฒนาองค์กร (Organization Development : OD) ให้ก้าวสู่ความสำเร็จ
- มีความรู้ความเข้าใจในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ การบริหารจัดการโครงสร้างและอัตรากำลัง การวิเคราะห์ระบบงาน การวางแผนปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อการพัฒนาองค์กร
- มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร รวมทั้งนโยบายในการดำเนินธุรกิจ
- มีประสบการณ์ในการทำงานเปลี่ยนแปลง (Transform) องค์กร
- มีความเป็นผู้นำ และทักษะการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคล
- มีความสามารถในการสื่อข้อความทั้งด้านการพูดและการเขียนในระดับดีมาก
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ค่าช่วยเหลือบุตร
- ค่าทุนการศึกษา
- ค่ารักษาพยาบาลคู่สมรสและบุตร
- ค่าศึกษาบุตร
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน
- เครื่องแบบพนักงาน, ชุดยูนิฟอร์ม
- โบนัสตามผลงาน/ผลประกอบการ
รีวิวบริษัทที่บอก ‘ชีวิตดี งานดี เงินดี สังคมดี’
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
จากจุดเริ่มต้นสู่การเติบโตอย่างมั่นคง...
“ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย” จัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ธนาคารตระหนักเสมอว่าบริการตามแนวทางอิสลาม สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนทั่วไปได้โดยไม่จำกัดให้อยู่เพียงในระบบธนาคารกระแสหลัก ธนาคารจึงมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันสมัย และให้บริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ภายใต้หลักคุณธรรมที่ใส่ใจ ห่วงใยทุกกลุ่มสังคม เคร่งครัดในหลักศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลง และบริหารงานด้วยความโปร่งใส
ด้วยเหตุนี้ธนาคารอิสลาม จึงเป็นธนาคารที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ให้กับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา และในเดือนตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจุบันธนาคารมี 96 สาขา ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
“ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย” จัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ธนาคารตระหนักเสมอว่าบริการตามแนวทางอิสลาม สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนทั่วไปได้โดยไม่จำกัดให้อยู่เพียงในระบบธนาคารกระแสหลัก ธนาคารจึงมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันสมัย และให้บริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ภายใต้หลักคุณธรรมที่ใส่ใจ ห่วงใยทุกกลุ่มสังคม เคร่งครัดในหลักศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลง และบริหารงานด้วยความโปร่งใส
ด้วยเหตุนี้ธนาคารอิสลาม จึงเป็นธนาคารที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ให้กับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา และในเดือนตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจุบันธนาคารมี 96 สาขา ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ตำแหน่งงานอื่น ๆ ที่น่าสนใจ