งานสายวิศวกร ช่างเทคนิค งานสายวิศวกร/ช่างเทคนิค ต้องอาศัยความรู้วิชาชีพเฉพาะทางและความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งประสบการณ์และเทคนิคเฉพาะตัวเป็นสิ่งที่สำคัญอยู่มากในสายงานนี้
ดูตำแหน่งงานวิศวกร ช่างเทคนิคทั้งหมดตำแหน่งงานวิศวกร ช่างเทคนิคตำแหน่งวิศวกร/ช่างเทคนิค มีหน้าที่วางแผน ประเมิน สร้าง ดัดแปลง ติดตั้ง ซ่อมบำรุง สิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ตึกอาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ ฯลฯ ตามหลักความรู้ทางด้านวิศวกรรม คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคนิคการช่าง และความรู้ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
งานของผมคือ วิศวกรงานระบบงานประปาและระบบดับเพลิงในตึกและอาคาร ลักษณะงานวิศวกรที่ผมทำมีคือ 1.ออกแบบงานระบบ 2.ตรวจสอบสเปค 3.ประเมินราคา 4.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้ตรงตามสเปคของโครงการ 5.วางแผนการทำงาน ตัวอย่าง มีโปรเจค A นำแบบงานมาประเมินราคาของแต่ละระบบ ตรวจเช็คสเปคของโปรเจคนั้น ๆ จัดหาและติดต่อ Suppliers ตามสเปคเพื่อเปรียบเทียบราคานั้น ๆ แล้วนำปริมาณงานไปคิดเป็นมูลค่างาน/BOQ แล้วนำเสนอเจ้าของโครงการ (ถ้าตกลง) 6.วางแผนและจัดหากำลังคน ผู้รับเหมา และช่างเฉพาะด้าน 7.วางแผนการทำงานติดตั้งงานระบบ 8.ประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโปรเจค เช่น ฝ่ายโครงสร้างและก่อสร้าง ฝ่ายตกแต่งภายใน ฝ่ายที่ปรึกษาเจ้าของโครงการ 9.รายงานความคืบหน้าของงานที่รับผิดชอบให้กับผู้บังคับบัญชาทราบและจนจบโครงการ
1.มีเงินเดือนที่ยอมรับได้ 2.มีบริษัทมากและหลากหลายรองรับตลาดแรงงาน 3.มีความเป็นอิสระในการทำงานสูง ใช้ความคิดได้อย่างอิสระ 4.มีความเป็นกันเองเสมือนรุ่นพี่สอนรุ่นน้อง
1.บริษัท (มหาชน) จะมีเงินเดือนสูง 2.ส่วนมากจะเป็นบริษัทเล็กให้ค่าตอบแทนน้อย 3.มีสวัสดิการน้อย 4.ระดับการเติบโตในสายงานวิศวกรช้า เพราะใครเป็นผู้จัดการก็เป็นยาวไปจนเกษียนอายุหรือจนลาออกไปเอง เพราะทางบริษัทต้องการความเชี่ยวชาญและประสบการณ์
1.ด้านวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ 2.วัสดุวิศวกรรม 3.เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมเบื้องต้นและ QC
1.จะต้องมีความอดทนในการทำงาน 2.ต่อสู้กับความยากลำบากและปัญหา 3.เราใช้ความรู้จากตัวหนังสือไม่ได้ เราต้องประยุกต์จากหนังสือมาใช้ทำงานให้เหมาะสมกับงาน
แนวคิดของแต่ละคนนั้นไม่มีผิดและไม่มีถูก แต่ที่สำคัญเหตุผลที่นำมาประกอบและสนับสนุนนั้นเหมาะสมกับงานแล้วนำมาทำงานได้หรือไม่ และผลงานที่เสร็จออกมาแล้วคาดว่าจะเหมาะสมกับเหตุผลที่ได้อ้างอิงไว้
ลักษณะงานวิศวกรไฟฟ้า 1. ออกแบบงานด้านระบบไฟฟ้า ควบคุมเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม 2. ซ่อมและบำรุงรักษางานระบบไฟฟ้าและเครื่องมือวัด ระบบไฟฟ้าแรงสูง แรงต่ำ ระบบไฟฟ้าควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ระบบเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม 3. งานติดตั้งระบบไฟฟ้า อาคาร โรงงาน และเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต 4. งานควบคุม Project และงานซ่อมบำรุงรักษาของบริษัทรับเหมา 5. ดูแลและควบคุมการจัดการการใช้พลังงานที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ 6. ติดต่อประสานงานกับงานหน่วยงานภายนอก การตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้าประจำปืส่งกรมอุตสาหรรมของจังหวัด การจัดทำรายงานการจัดการพลังงานประจำปีส่ง พพ. กระทรวงพลังงาน การติดต่อกับการไฟฟ้านครหลวงเกี่ยวกับการใช้งาน การดูแลรักษา และการปรับปรุงการใช้ไฟฟ้าภายในของบริษัท 7. ดูแลการใช้จ่ายงบประมาณของฝ่ายซ่อมบำรุง และค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบำรุงของเครื่องจักรที่ใช้ของฝ่ายผลิต และส่วนต่าง ๆ ที่มีงานซ่อมบำรุง 8. การพัฒนาบุคคลการในส่วนงานซ่อมบำรุง
1. สายอาชีพวิศวกรไฟฟ้าเป็นความรู้ทักษะเฉพาะด้าน ต้องอาศัยความรู้และศึกษาในเชิงลึกไป และต้องอาศัยประสบการณ์และทักษะที่สะสม ทำให้มีความต้องการมากขึ้นไปเรื่อยในสายงาน 2. มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าสม่ำเสมอที่ใช้ในการทำงานฝ่ายวิศวกรไฟฟ้า ทำให้น่าสนใจ
1. การทำงานสายวิศวกรไฟฟ้า บางครั้งอาจกำหนดเวลาไม่ได้ ต้องมีการวางแผนการทำงานให้รอบคอบและชัดเจน ซึ่งต้องทำงานต่อเนื่องเพื่อให้งานเสร็จตามกำหนด
งานระบบไฟฟ้า งานซ่อบบำรุงรักษา งานติดตั้ง และการออกแบบงานระบบไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าแรงสูง หม้อแปลงไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 1 เฟส เครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม (Temperture, Pressure, Level, Weight, Flow) ระบบการควบคุมเครื่องจักรและการทำงาน การควบคุมแบบอัตโนมัติ เช่น การ start-stop motor การควบคุมความเร็วรอบของ motor (Inverter, Servo) การทำงานแบบ สายการผลิตแบบต่อเนื่อง การผลิตเป็น Batch การผลิตแบบกระบวนการแบบอัตโนมัติ โดยควบคุมแบบ DCS (Distribution Control System) ซึ่งใช้การควบคุมแบบต่างร่วมกัน เช่น การควบคุมอุณหภูมิ อัตราการไหลของของเหลว ก๊าซ ความดัน ระดับของของเหลวหรือของแข็งที่เป็นผงแป้ง ความชื้น ความข้น น้ำหนัก Robot (หุ่นยนต์หรือแขนกลในกระบวนการผลิต) ระบบทำความเย็น Chiller ระบบ Air Compressor ระบบ Boiler ระบบ Thermal oil
1. ไม่ค่อยมุ่งมั่นในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย ทำงานตามเวลาปกติทั้งที่มีงานที่รับผิดชอบอยู่ที่ต้องทำหรือติดตามให้เสร็จในวันหยุด จะไม่ค่อยจะติดตามหรือรับผิดชอบ ต้องหยุดด้วย 2. ทำเฉพาะงานในสิ่งที่ชอบ ด้านใดด้านหนึ่งที่ชอบ 3. ทำงานเฉพาะในหน้าที่รับผิดชอบหลัก ไม่ค่อยช่วยเหลือผู้อื่น 4. ไม่มีความอดทนในการทำงาน หรือปัญหาในการทำงานต่าง ๆ ทั้งเรื่องานและเรื่องคน 5. ไม่ค่อยค้นคว้าในงานที่ทำ หรือศีกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองก่อน ต้องคอยได้รับคำแนะนำจากคนอื่น 6. การทำงานเป็นทีม การทำงานโครงการ การมีมนุษย์สัมพันธ์ และการประสานงาน 7. นึกว่าทำงานสบาย ไม่มีอุปสรรคในการทำงาน
"ต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลาเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยี หน้าที่การงาน และความรับผิดชอบที่มากขึ้น (37886)"
งานสายวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่ทำ คือ ออกแบบ วางแผน ขยายโครงข่าย โทรคมนาคม เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า เช่น ออกแบบ วางแผน และดำเนินการขยายโครงข่ายเพื่อรองรับวงจรเช่า Broadband, IPLC, IP layer2, IP layer3 ทดสอบ หาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เหมาะสม เพื่อรองรับลูกค้าในอนาคต
1. ฝ่ายวิศวกรคอมพิวเตอร์ได้รู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ทดลองอุปกรณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่หลากหลาย 2. ส่วนใหญ่ทำงานใน Office ก็ไม่เป็นปัญหาเรื่องการเดินทางหรืออากาศร้อนข้างนอก 3. ได้คิดและวางแผน ออกแบบโครงข่ายใหม่ ๆ มีความท้าทาย ได้เอาประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่มาใช้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาด้านเทคนิค 4. เกี่ยวข้องกับคนไม่มากนัก ส่วนมากเป็นบุคคลที่ทำสายอาชีพเดียวกัน ไม่เป็นปัญหาด้านการสื่อสารมากนัก
1. ตำแหน่งวิศวกรคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมาก เป็นตรรกะ อาจจะไม่ค่อยได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์เท่าที่ควร เพราะมองแต่สิ่งที่เป็นไปได้ 2. ทำงาน Outside น้อย ทำให้ไม่ได้สัมผัสบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมภายนอก Office 3. งานค่อนข้างเครียด ยิ่งหากต้องมีโครงการที่เร่งด่วนในขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด 4. บางครั้งต้องทำนอกเวลางาน หรืองานมีงปัญหาเกิดขึ้นต้องแก้ไขเร่งด่วน
1. Transmission Technology, Telecom, Datacom, IP, WAN, LAN, Internet 2. ภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อสารกับ Vendor ลูกค้าต่างชาติ 3. Financial คิดต้นทุนหรือการลงทุนโครงข่าย
ไม่ค่อยมีความอดทน เชื่อมั่นในตัวเอง คิดไม่รอบคอบ ทำงานเร็วแต่มีผิดพลาด
"ต้องขยันที่จะเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้ของเราจะเพิ่มโอกาสให้กับตัวเราเองในการทำงานระดับสูงขึ้นไป (639248)"
ลักษณะงานวิศวกรอุตสาหการ เช่น ดูแลควบคุมให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพ โดยการทำความเข้าใจกับระบบ กระบวนการ เครื่องจักรอุปกรณ์ในการทำงานการผลิต เพื่อที่จะสามารถวางระบบ ควบคุม ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการทำงาน เช่น เมื่อดิฉันเข้าไปทำงานในโรงงาน Mizuki Electronics Thailand Co., Ltd. ต้องเข้าไปเรียนรู้ระบบการผลิตและนำมาวางระบบด้วยการออก Procedure, Work instruction และควบคุมด้วยการออกแบบ Check sheet เพื่อให้พนักงานรายงานผลการทำงานและใช้ตรวจสอบผลการผลิต ผลการทำงานทั้งคนและเครื่องจักร ตลอดจนเก็บข้อมูลเพื่อใช้พัฒนาและปรับปรุงการทำงานของพนักงานและเครื่องจักรต่อไป
1. หลักการทำงานเดียวกันในกระบวนการผลิตที่ต่างกันมีระบบรองรับหรือมาตรฐานการทำงานเดียวกัน เช่น มาตรฐาน ISO เป็นต้น เพราะฉะนั้นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์มากจะมีความสามารถมากขึ้น โอกาสก้าวหน้าก็มีมากตามไปด้วย ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นจะหาโอกาสใส่ตัวเพิ่มเติมหรือไม่ เช่น ภาษา ความรู้เฉพาะทางในการทำงาน เป็นต้น 2. คนที่ทำงานร่วมกันมีนิสัยน่ารัก 3. มีสวัสดิการที่ดี เช่น ชุดยูนิฟอร์ม รถรับส่ง ค่าข้าว ค่าที่พักอาศัย โบนัส เบี้ยขยัน และอื่น ๆ อีกมากมาย
1. เวลาทำงานในสายอาชีพวิศวกรอุตสาหการมากเกินไป ส่วนใหญ่ทำงานวันจันทร์ถึงเสาร์ หยุดวันอาทิตย์วันเดียวน้อยไป น่าจะหยุดวันเสาร์อาทิตย์ ส่วนใหญ่ก็ต้องเอาเวลาให้กับที่ทำงานเสียมาก 2. ความมั่นคงได้เพียงแค่ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเกษียณก็จบ 3. บางทีก็ต้องสร้างบทบาทของตัวเองขึ้นมาให้ได้ ต้องแสดงความสามารถให้โด่ดเด่นถึงจะเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน คือ ไม่มีงานเป็นประจำให้ทำเหมือนพนักงานในสายการผลิต
ความรู้สายอาชีพวิศวกรอุตสาหการเฉพาะทางที่เรียนมา ต้องเก็บจดจำเอาไว้ การคำนวณต่าง ๆ สถิติ Design การออกแบบ
ต้องยอม พร้อมที่จะเรียนรู้จากผู้อื่นที่มีประสบการณ์มากกว่า และเอาตัวเองเข้าแลก ยังไม่ต้องคิดว่าตัวเองเก่ง เพราะสิ่งที่เรียนอาจจะไม่ได้ใช้ในการทำงาน
"สำหรับสายงานวิศวกรอุตสาหการ สิ่งที่อยากจะแนะนำคือจะต้องสามารถวางแผนและบริหารเวลาเป็น กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ (6954197)"
ลักษณะงานวิศวกรโยธาของผมคือผู้วางแผน ควบคุม ตรวจสอบ ประเมินผล ปรับปรุง และแสวงหาวิธีที่ดีกว่าเดิม 1.วางแผนการทำงานด้านงานก่อสร้าง เช่น เมื่อมีแบบงานก่อสร้างมา จะต้องวางแผนทุกขั้นตอนการทำงาน ประสานงานกับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับงาน 2.ควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามแผน 3.ตรวจสอบคุณภาพงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด 4.ประเมินผลงานและปรับปรุงให้ดีขึ้น 5.แสวงหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้กับงานที่ทำให้ดีกว่าเดิม และอื่น ๆ ผมเป็นคนชอบประดิษฐ์ คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เช่น การผลิตอิฐมวลเบาจากโฟม eps การสร้างบ้านสำเร็จรูป การลดเวลาในการทำงานและคนงานโดยการใช้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปช่วยในการทำงานมากขึ้น ผมชอบธรรมชาติกับงานก่อสร้าง เมื่อผมมีเวลาผมมักไปที่ร้านขายต้นไม้เพื่อหาต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ เพื่อนำมาใช้กับงานออกแบบสวนและระเบียงทางเดินให้งานก่อสร้างกับธรรมชาติควบคู่กันไป
1. มีความละเอียดรอบคอบในทุกขั้นตอนการทำงานสานวิศวกรโยธา เพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2. รู้จักคนมาก 3.ใช้เครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ เช่น เครน รถแม็คโคร ระบบลำเลียงต่าง ๆ ทำให้มีความรู้มากขึ้น 4. สามารถควบคุมทุกระบบในโครงการของตัวเองได้
งานสาย civil engineer ต้องเดินทางและเปลี่ยนที่พักไปตามโครงการ ทำให้มีเวลากับครอบครัวน้อยกว่าอาชีพอื่น
ก่อสร้าง บริหารงานก่อสร้าง
กล้าที่จะพูดคุยและรับฟังผู้ปฏิบัติงาน และกล้าที่จะใช้ความรู้วิศวกรโยธาที่เรียนมาวิเคราะห์ปัญหา
ปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์
- พัฒนาซอฟต์แวร์ และ บริหารจัดการทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ ให้บรรลุเป้าหมายของโครงการที่รับผิดชอบ
- ควบคุมคุณภาพซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้เครื่องมือในการตรวจสอบ (Software Project Management)
-
บางครั้งเราไม่สามารถควบคุมระยะเวลาในการทำงานได้เพราะความไม่แน่นอนของปัญหาจากงานประเภทนี้ทำให้เวลาบางส่วนในชีวิตอาจขาดหายได้ ต้องแบ่งเวลาให้ดี
- เทคโนโลยีใหม่ๆ
- ความรู้เฉพาะทางในสายงานที่ตนเองทำ เช่น java, php, .net หรืออื่นๆ
- เทคโนโลยีเว็บ
- ความรู้ทางด้าน database
- การใช้เครื่องมือช่วยเหลือในการทำงาน
- ความมั่นใจในตนเองเกินไป
- มีความอดทนน้อย
- ความมีใจมุ่งมั่นในงานที่ตนได้รับผิดชอบ
- ศรัทธาในงานที่ตนได้รับมอบหมาย
- เคารพในความคิดของผู้อื่น
หมั่นเรียนรู้อยู่เสมอ อดทน ตั้งใจ งานหนักหรือยากเพียงใดย่อมสำเร็จได้ ไม่ยากเกิน
ไม่ว่าจะเป็นการมองหางานในตำแหน่งเริ่มต้นสำหรับเด็กจบใหม่ หรือวางแผนสมัครงานในสายงานการเงิน การธนาคารกับบริษัทที่ใช่ ก็สามารถเลือกหาได้ที่ JOBTOPGUN เว็บไซต์หางานที่มีงานอัปเดตใหม่ทุกวันจากบริษัทชั้นนำมากมาย ให้คุณได้งานจริงด้วย Super Resume ที่ให้คุณสร้าง Resume อย่างมืออาชีพ หางานสายอาชีพวิศวกร/ช่างเทคนิคได้ที่นี่